นวัตกรรมรูปแบบการบริหาร SAVE Huy Pai โดย นายจาตุรนค์ แก้วรักษา โรงเรียนบ้านห้วยไผ่
นวัตกรรมรูปแบบการบริหาร SAVE Huy Pai น้อมนำศาสตร์พระราชาซึ่งเป็นศาสตร์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานพระราชพระบรมราโชวาท ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นศาสตร์ที่เกิดจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยุทธศาสตร์พระราชทาน เป็นหลักการทรงงานการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อความเป็นเลิศและยั่งยืน หลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือการเรียนรู้กระบวนการคิดบนรากฐานการเข้าใจมนุษย์การเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้การสร้างสรรค์นั้นตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และการพัฒนาด้วยความรู้และภูมิปัญญาที่ไม่จำกัดอยู่เพียงด้านในด้านหนึ่ง ตลอดจนการทดลองปรับปรุงจนได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่รู้จบ (สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2560: 14 - 22) และ ได้นำหลักการ Balanced Scorecard (BSC) มาเป็นเครื่องมือทางด้านการบริหารจัดการ ที่ช่วยในการประเมินผลองค์กรและช่วยให้องค์กรนำเอากลยุทธ์ไปปฏิบัติจริง (Strategic Implementation) โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators: KPI) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์
จึงเป็นที่มาของนวัตกรรมรูปแบบการบริหาร SAVE Huy Pai ที่ประยุกต์ใช้หลักยุทธศาสตร์พระราชทานและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อมนำสู่การปฏิบัติจริงและเห็นผลจริง ในการพัฒนาอาคาร สถานที่ และดำเนินงานต่างๆภายในโรงเรียน โดยมีรูปแบบดังนี้
S+A+V+E Huy Pai ประหยัด บริหารจัดการใช้หลักความคุ้มค่า หลักธรรมมาภิบาลในการปฏิบัติงาน โดย
S =Savvy เข้าใจ ศึกษาบริบท สร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกันทั้งตัวบุคคล องค์กร ชุมชน
A =Approach เข้าถึง ศึกษาสภาพปัญหา สังเกต วิเคราะห์ แล้วเข้าไปแก้ปัญหา ด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญา
V =Vision วิสัยทัศน์(พัฒนา) กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันไว้อย่างชัดเจน แล้ววางแผนดำเนินการ PDCA
E =Ease ความสะดวกสบายใจ หัวใจบริการ อำนวยการ อำนวยความสะดวก ยืดหยุ่น คล่องตัว
H =Health สุขภาพ ใส่ใจสุขภาพ สุขภาวะ สุขโภชนาการความปลอดภัยของผู้เรียนและบุคลากร
P =Peace ความปกติสุข ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนวิถีพุทธ การนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตจริง
รูปแบบการบริหาร S+A+V+E Huy Pai ประหยัด บริหารจัดการใช้หลักความคุ้มค่า หลักธรรมมาภิบาลในการปฏิบัติงาน ได้จากการสังเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ต่าง ๆ โดยมีบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมและมีการตรวจสอบความเป็นไปได้ของนวัตกรรมก่อนที่จะนำมาใช้ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่
ระยะที่ 2 จัดซื้ออุปกรณ์บำรุงรักษาอาคารและสถานที่ของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่
ระยะที่ 3 ปรับปรุงอาคาร และสถานที่ของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่
ผลการดำเนินการผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยไผ่มีอาคารและสถานที่ที่ได้รับการปรับปรุง
ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารนำรูปแบบบริหาร SAVE Huy Pai มาพัฒนาตนและพัฒนาครู บุคลากรในโรงเรียนและเป็นนโยบายนำสู่การปฏิบัติ
ครูผู้สอน ครูผู้สอนนำรูปแบบ SAVE Huy Pai ลงสู่การปฏิบัติ ทำให้ได้นวัตกรรมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ มีการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ได้ตามความเมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของโรงเรียน นักเรียน และสถานการณ์โควิด 19 เช่น การจัดประชุมออนไลน์ การพัฒนาการสอนจาก on hand เป็น on line ด้วยแอปพลิเคชันต่างๆ มีการสร้างกลุ่มไลน์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับนักเรียน
นักเรียน/ผู้ปกครอง/ชุมชน นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการจัด การเรียนการสอนด้วยความเต็มใจ ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยความสำเร็จ
1.ร้อยละ 90 ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน รับรู้ เข้าใจและเกิดความพึงพอใจ ในแนวทางการบริหารจัดการรูปแบบ SAVE HuyPai
2.ร้อยละ 80 ผู้ร่วมงานรับรู้ เข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางรูปแบบการบริหาร SAVE HuyPai อย่างมีความสุขและบรรลุเป้าหมายของงาน
3. โรงเรียนปลอดการทุจริตงานการเงิน พัสดุ ถูกต้องตามระเบียบ
4. ร้อยละ 90 ของบริเวณทั่วไปในสถานศึกษาร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย โดยเปรียบเทียบสภาพอดีตและปัจจุบัน
บทเรียนที่ได้รับ
เข้าใจ : ทำอะไรต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจหนทางแก้ไข เข้าใจกระบวนการจัดการ และปรับความเข้าใจระหว่างผู้ให้ ผู้รับเสียก่อน ให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เข้าถึง : เมื่อเข้าใจระหว่างกันทุกประการครบถ้วนแล้ว ต้องเข้าถึงการกระทำ สร้างความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง เข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ และความสามัคคีร่วมจิตร่วมใจของผู้ปฏิบัติ ร่วมมือร่วมไม้กันทำงาน
พัฒนา : เมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกันแล้ว เข้าถึงกันแล้ว ก็กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน แล้ววางแผนพัฒนาร่วมกัน(PDCA)การพัฒนาก็จะดำเนินการไปอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบที่ติดลบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง หากแต่นำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน