รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน
ชื่อเรื่อง โครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน
ผู้รายงาน นางสาวลัญฉกร ภูธา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนวัดบางกระดาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2
ปีที่ประเมิน 2564
การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน 3)เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน ประกอบด้วย 4.1) กิจกรรมกิจกรรมการเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์และส่งเสริมเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในสถานศึกษา 4.2) กิจกรรมกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัยและส่งเสริมนักเรียนไทยสุขภาพอนามัยดี ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(จังหวัดฉะเชิงเทรา) 4.3) MOE SAFETY CENTER (สถานศึกษาปลอดภัย นักเรียนไทยอบอุ่น) 4.4) Bangkradan Security Model ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน (S-Care) 4.5) ห้องเรียนสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 4.6) 5 ส สดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4.7) โรงเรียนปลอดอัคคีภัย 4.8) วัยใส ใส่ใจจราจร 4.9) กิจกรรมกล่องใส่ใจด้วยรักและห่วงใย(ศูนย์ให้ความคุ้มครอง และช่วยเหลือนักเรียน) 5.เพื่อประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน กลุ่มเป้าหมาย มีจำนวนทั้งสิ้น 55 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนโรงเรียนวัดบางกระดาน จำนวน 4 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครูและผู้บริหารเป็นผู้ประเมินโครงการ 3) ผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 22 คน ซึ่งมีศักยภาพในการตอบแบบสอบถามและสามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคน 4) นักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 22 คน ซึ่งมีศักยภาพในการตอบแบบสอบถามและสามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคน การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินโครงการพบว่า
1.ด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
2.ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สถานศึกษามีมาตรการดูแลความปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน เช่น ความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ระบบการจราจร การสวมหมวกกันน็อค เป็นต้น และสถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบและเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนได้ทันเหตุการณ์ ทันเวลา และทันต่อความต้องการของนักเรียน
3.ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สถานศึกษามีกระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน
4.ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมความปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน 9 กิจกรรม ประกอบด้วย 4.1) กิจกรรมกิจกรรมการเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์และส่งเสริมเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในสถานศึกษา 4.2) กิจกรรมกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัยและส่งเสริมนักเรียนไทยสุขภาพอนามัยดี ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(จังหวัดฉะเชิงเทรา) 4.3) MOE SAFETY CENTER (สถานศึกษาปลอดภัย นักเรียนไทยอบอุ่น) 4.4) Bangkradan Security Model ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน (S-Care) 4.5) ห้องเรียนสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 4.6) 5 ส สดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4.7) โรงเรียนปลอดอัคคีภัย 4.8) วัยใส ใส่ใจจราจร 4.9) กิจกรรมกล่องใส่ใจด้วยรักและห่วงใย(ศูนย์ให้ความคุ้มครอง และช่วยเหลือนักเรียน) โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
5.ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย
5.1 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการดำเนินงานการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บและรวบรวมข้อมุลให้ครอบคลุมในทุกมุมของการดำเนินงาน
2.ควรมีการนำผลการประเมินไปจัดทำแผนกลยุทธ์ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆให้กับผู้เรียน
3.ควรมีการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกระดาน นอกเหนือจากรูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปโมเดล (CIPP Model) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ , สถานศึกษาปลอดภัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม