ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้สู่งานอาชีพโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ
กลุ่มสาระ การงานอาชีพ
ผู้วิจัย ณัฐภัทร สุภารัตน์ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
โรงเรียน โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
1. แนวคิดความเป็นมา
หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐาน ความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียน ได้คิด ค้นคว้าหาความรู้และลงมือปฏิบัติหรือกระทำจริงทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การพัฒนาครู เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาครูให้มี ความรู้ความสามารถในการวางแผนจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และเป็นคนที่อยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญมีหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ แบบโครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะการวิจัย สำรวจ ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยมีครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเรียนรู้ แบบโครงงานจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกที่จะช่วยให้นักเรียนได้นำความรู้ ในชั้นเรียนไปบูรณาการกับกิจกรรมที่จะกระทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหาและการค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น การสอบแบบโครงงานจึงเป็นการสอนที่ให้นักเรียน ได้รู้จักวิธีทำโครงงานวิจัยเล็กๆ (Mini Research) ที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและ การสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ จุดประสงค์หลักของการสอนแบบโครงงาน เพื่อต้องการกระตุ้นให้นักเรียน รู้จักสังเกต รู้จักตั้งคำถาม รู้จักตั้งสมมุติฐาน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบที่ตนอยากรู้ รู้จักสรุป และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ค้นพบ (สุพล วังสิทธ์. 2543 : 11)
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ในรายวิชาการงานอาชีพของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคารให้สูงขึ้น
2. เพื่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียน
เขื่องในพิทยาคาร โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน
3. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของอาชีพสุจริตและเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
3. แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้
กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่งานอาชีพโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ใช้หลักการตามแนวคิดของ John Dewey, Kemmis และ MC Taggart (Kemmis and MC Taggart, 1988 : 11-15) และเป็นการเรียนรู้ที่ เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ
- ความรู้ความจำ (Knowledge)
- ความเข้าใจ (Compare hension)
- การนำไปใช้ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis)
- การสังเคราะห์ (Synthesis)
- การประเมินค่า (Evaluation)
และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์
ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงานโดยมีผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ ในแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นการวางแผน (Planning)
2) ขั้นปฏิบัติงาน (Action)
3) ขั้นการสังเกต (Observation)
4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) (สุวิมล ว่องวานิช. 2544 : 13)
4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การปรับประยุกต์ ดัดแปลง
คิดค้นกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่งานอาชีพโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นการออกแบบกระบวนการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของ บลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น
- ความรู้ความจำ (Knowledge)
- ความเข้าใจ (Comprehension)
- การนำไปใช้ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis)
- การสังเคราะห์ (Synthesis)
- การประเมินค่า (Evaluation)
โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นการวางแผน (Planning)
2) ขั้นปฏิบัติงาน (Action)
3) ขั้นการสังเกต (Observation)
4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection)
กรอบการจัดการเรียนรู้สู่งานอาชีพโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
5.กระบวนการพัฒนา/ขั้นตอน
5.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2/1 , 2/2 , 2/8 และ 2/12 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน
5.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2/8 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 คน
5.3 ตัวแปรที่ศึกษา
5.3.1 ตัวแปรต้น คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
5.3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5.3.3 แนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
5.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565
5.5 กรอบเนื้อหาการพัฒนานักเรียน
5.5.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ ประเภทของโครงงาน
5.5.2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
5.6 กลยุทธ์การพัฒนา การศึกษาครั้งนี้ได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนในการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรม โครงงาน โดยมีกลยุทธ์ดำเนินการดังนี้
5.6.1 การศึกษาเอกสาร การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
5.6.2 การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
5.6.3 การปฏิบัติการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
5.6.4 การแลกเปลี่ยนความรู้
5.7 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.7.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5.7.2 แบบทดอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์
5.7.3 แบบสอบถาม
5.8 วิธีวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้หลักการตามแนวคิดของ John Dewey, Kemmis และ MC Taggart (Kemmis and MC Taggart, 1988 : 11-15) และเป็นการเรียนรู้ที่ เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ ในแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวางแผน (Planning) 2) ขั้นปฏิบัติงาน (Action) 3) ขั้นการสังเกต (Observation) 4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) (สุวิมล ว่องวานิช. 2544 : 13)
5.9 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6. ผลการดำเนินงาน
1. ผู้เรียนร้อยละ 93.26 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพ สูงขึ้น
2. ผู้เรียนมีพัฒนาด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์สูงขึ้นเมื่อใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ โครงงาน
3. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของอาชีพสุจริตและเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตอยู่ในระดับดีมาก
7. การเผยแพร่ผลงาน
7.1 จัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน
7.2 รูปเล่มรายงาน