บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับผู้เรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วัตถุประสงค์การวิจัย 1)เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2)เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learning) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learning) 4)เพื่อหาประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learning) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learning) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา และผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนวัดพิกุลเงิน องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1)แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชั้นประถมศึกษา ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 20 ข้อ ค่าความเหมาะตอนที่ 1 เท่ากับ 5.00 ตอนที่ 2 เท่ากับ 4.62 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9259 2)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 5.00 3)แบบฝึกทักษะ จำนวน 10 ชุด ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.89 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8647 5)แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ ค่าความเหมาะสมตอนที่ 1 เท่ากับ 5.00 ตอนที่ 2 เท่ากับ 4.48 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9725 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยสอบถามปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design ทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียน (Pre-test) ทำการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ทดสอบย่อยระหว่างเรียน และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) สอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบ ใช้สถิติหาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ตามวิธีของแบรนแนน (Brennan) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) ตามวิธีของโลเวท (Lovett) ใช้สถิติ E1/ E2 หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ใช้สถิติหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถาม ปัญหาการสอนการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ใช้สถิติหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับวิธี Itemtotal Correlation ใช้สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson ใช้สถิติ t-test วิเคราะห์สมมติฐานเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สถิติ E.I.วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (X-bar) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า
1. โดยรวมครูเพศชายมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมาก ( =4.49) โดยรวมครูเพศหญิงมีปัญหาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar=4.51) โดยรวมครูที่มีวุฒิปริญญาตรี มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( =4.39) โดยรวมครูที่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรี มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (X-bar=4.31) โดยรวมครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (X-bar =4.34) และโดยรวมครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 6 ปีขึ้นไป มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (X-bar=4.32)
2. โดยรวมแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 83.91 คิดเป็นร้อยละ 83.91 และประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 83.91 มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 80
3. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learningสำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ E1=85.00/E2 =82.57 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. ประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ เท่ากับ 0.7534 แสดงว่าแบบฝึกทักษะ เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดนี้ ทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 75.34 สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
5. การเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
6. โดยรวมความพึงพอใจของผู้เรียนชายและผู้เรียนหญิง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X-bar =4.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายสถานะ พบว่า ผู้เรียนชายมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X-bar =4.18) และผู้เรียนหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X-bar =4.31) ซึ่งผู้เรียนหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงกว่าผู้เรียนชาย