การพัฒนารูปแบบ TAPU MODEL ด้วยกระบวนการ PLC เพื่อการจัดการเรียนการสอน
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้นวัตกรรม
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการสร้างนวัตกรรมด้วยกระบวนการ PLC
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ครู 7 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะครูผู้สอน) นักเรียนจำนวน 40 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 ด้านความพึงพอใจ สำหรับถามครู มีข้อคำถาม 7 ข้อ และฉบับที่ 2 ด้านความพึงพอใจ
มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามผู้เรียน
ผลการประเมิน
1) ผลการใช้นวัตกรรม พบว่า หลังจากใช้นวัตกรรม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 กลุ่มสาระวิชา โดยในปีการศึกษา 2563 นักเรียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติสูงกว่าเมื่อเทียบ ปีการศึกษา 2562
2) ความพึงพอของนักเรียนต่อการใช้นวัตกรรม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก
3) ความพึงพอใจของครูต่อการสร้างนวัตกรรมด้วยกระบวนการ PLC พบว่า ครูมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
โรงเรียนวัดอินทนิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ควรส่งเสริมและพัฒนาระบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและมีการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ
โรงเรียนวัดอินทนิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ควรวางแผนพัฒนาระบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยจัดกิจกรรม Open Class อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
เพื่อให้มีข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการกำหนด กรอบนโยบายการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในอนาคต จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ควรจะมีการศึกษางานวิจัยอย่างต่อเนื่องในหัวข้อ ต่อไปนี้
- ศึกษารูปแบบการพัฒนาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยการนำโมเดลนี้ไปใช้กับสถานศึกษาอื่น ๆ
- ศึกษาเชิงคุณภาพด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ