บทคัดย่อ
รายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอนก่อนและหลังศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 3) เพื่อศึกษาผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมบริษัท สร้างการดีตามแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 4) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแนวทาง
การพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมโครงการโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 29 คน จากโรงเรียนสุจริต 29 แห่ง ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง จากการกำหนดสัดส่วนเป้าหมายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 20 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่
แนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ความเข้าใจ โดยการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ขั้นตอนที่ 2 การนิเทศหลังการศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมโครงการโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 29 คน จากโรงเรียนสุจริต 29 แห่ง ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจงจากการกำหนดสัดส่วนเป้าหมายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 20 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมบริษัทสร้างการดีตามแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และแบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อ แนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีค่าประสิทธิภาพ
(E1/ E2) เท่ากับ 90.47/83.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรม บริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สูงกว่าก่อนศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมบริษัทสร้างการดีตาม แนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.52, S.D. = 0.50) และโรงเรียนร้อยละ 100
มีผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดีด้วย Project based Learning อยู่ในระดับ
ดีขึ้นไป
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อแนวทางการพัฒนากิจกรรมบริษัทสร้างการดีด้วย Project-based Learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.62,S.D. = 0.49)