บทคัดย่อ
ชื่อการศึกษาอิสระ : รายงานการประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษพหุภาษา (Multilingual Program)
โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวลินดา ชุมภูศรี
หน่วยงานที่สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ปีที่ดำเนินการประเมิน : ปีการศึกษา 2564
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ ผลผลิต และความพึงพอใจ โดยใช้การประเมินรูปแบบ CIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L. Stufflebeam) โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร 5 คน ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 47 คน นักเรียน จำนวน 196 คน ผู้ปกครอง จำนวน 196 คน และชุมชน จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แบ่งการประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์การประเมิน ได้แก่ แบบประเมินบริบทของโครงการ แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ แบบประเมินกระบวนการของโครงการ แบบประเมินผลผลิตของโครงการ แบบประเมินคุณลักษณะของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการห้องเรียนพิเศษพหุภาษา (Multilingual Program) โรงเรียน
แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายการพบว่า มีการจัดทำแผน/โครงการ บริหารจัดการการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ศูนย์อัจฉริยภาพ พื้นที่ใช้สอยอื่นๆ สื่อการเรียนรู้ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เป็นการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในโครงการ Education Hub มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นฝ่ายสนับสนุนโครงการ Education Hub มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ตามเกณฑ์ 3.51 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสมและเพียงพอเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา
สถานที่ และชุมชน แต่ละกิจกรรมย่อย พบว่า มีความเหมาะสม ความพร้อมและความเพียงพอด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามกิจกรรม 5 กิจกรรม คือกิจกรรมค่ายวัฒนธรรม 5 ภาษา
กิจกรรม Grand English Camp กิจกรรมค่าย Culminating Camp กิจกรรม Giving and Sharing Foundation และกิจกรรมค่ายคุณธรรม Morality and Global Awareness พบว่า มีความเหมาะสมและเพียงพออยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 กิจกรรมทั้งนี้เนื่องมาจาก ความชัดเจนของโครงการที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทุกกิจกรรม จึงมีการดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการบริหารโครงการ การนิเทศติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหาร ทำให้บุคลากรทุกคนเกิดความร่วมมือในการทำงาน ทำให้กระบวนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
4. ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักเรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรห้องเรียนพิเศษพหุภาษา
(SMART) จากการประเมินของครูประจำวิชาและครูประจำชั้นโดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะของนักเรียนทั้ง 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านทักษะการเรียนรู้ (Study Skills) 2) ด้านคุณธรรม (Morality) 3) ด้านทัศนคติ (Attitude) 4) ด้านความรับผิดชอบ (Responsibility) 5) ด้านเทคโนโลยี (Technology) สรุปได้ว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
5. ด้านความพึงพอใจ ที่มีต่อโครงการห้องเรียนพิเศษพหุภาษา (Multilingual Program) โรงเรียน
แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน พบว่า และระยะเวลาในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และเมื่อแยกเป็นรายข้อพบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม Grand English Camp มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ทั้งนี้เพราะกิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษจากสถานการณ์จริง และเพิ่มประสบการณ์ด้านการเรียนรู้สถานที่ใหม่ๆ