ผู้ประเมิน นายจิรพิพรรธ ธรรมแท้
ปีการศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์
อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ครั้งนี้ ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินแบบ
ซิปป์ (CIPP Model) ของ แดเนียล แอลสตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
รัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input)
ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 3)เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
รัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
รัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี รวมทั้งสิ้น 1,862 คน ดังนี้
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน คณะครู จำนวน 45 คน นักเรียน จำนวน
901 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 901 คน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) คณะครู 3) นักเรียน 4) ผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้วิธีสุ่มแบบ
แบ่งชั้น (Nonproportional Stratified Random Sampling) แล้วสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากร โดย
ใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ตามขั้นตอนต่อไปนี้1) สำรวจจำนวนคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาราชบุรี 2) ทำการแบ่งกลุ่มย่อยตามตำแหน่งในโรงเรียนของประชากร ออกเป็น
4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มที่ 2 ครู กลุ่มที่ 3 นักเรียน กลุ่มที่ 4
ผู้ปกครองนักเรียน สุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากร ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากรโดยใช้
ตารางของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 :607-610) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 602 คน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 คน ได้จากประชากร ยกเว้น
กรรมการที่มาจากตัวแทนครู 1 คน กลุ่มที่ 2 ครู 40 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มที่ 3 นักเรียน 274 คน ได้จากการเปิดตารางเครจซี และมอร์แกน จากนั้นทำการแบ่งสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามระดับชั้น แล้ว
สุ่มนักเรียนตามอัตราส่วนในแต่ละระดับชั้น 3.29:1 ได้ดังนี้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวน 182 คน
สุ่มได้ 55คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีจำนวน 198 คน สุ่มได้ 60 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวน 229
คน สุ่มได้ 70 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวน 127 คน สุ่มได้ 38 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี
จำนวน 67 คน สุ่มได้ 20 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวน 98 คน สุ่มได้ 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่
4 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 274 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จากผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็น
กลุ่มตัวอย่าง อัตราส่วน 1:1 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4ฉบับ
ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x ̅)
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ในภาพรวม
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านปัจจัยสภาพแวดล้อม
พื้นฐาน ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มาก (x ̅=4.29, S.D.=0.47) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม
(x ̅=4.38, S.D.=0.47) รองลงมาคือด้านปัจจัยนำเข้า (x ̅=4.31, S.D.=0.41) ด้านกระบวนการ
(x ̅=4.25, S.D.=0.38) และด้านผลผลิต(x ̅=4.23, S.D.=0.62)
2. ด้านสภาพแวดล้อม (Context)
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ตามความคิดเห็นของคณะครู และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งสอบถามความคิดเห็นด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย ความต้องการจำเป็น
ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวมมี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ =4.38, S.D.=0.47)
3. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ตามความคิดเห็นของคณะครู ซึ่งสอบถาม ความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ และด้านบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x ̅ =4.31, S.D.=0.41)
4. ด้านกระบวนการ (Process) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ตามความคิดเห็นของคณะครู และนักเรียน ซึ่ง สอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินงาน (Do) การ ติดตามและประเมินผล (Check) และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (Action) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( x ̅=4.25, S.D.=0.38)
5. ด้านผลผลิต (Product) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ตามความคิดเห็นของคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง ซึ่งสอบถามความคิดเห็นด้านผลการด าเนินงานกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.23, S.D.=0.62)