ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการ การบริหารการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียน อนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
ชื่อผู้วิจัย นางพนิดา อุสายพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
การประเมินโครงการ การบริหารการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการ ดำเนินงานของโครงการการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัย นำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product) ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 3,555 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ระดับชั้น อนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,730 คน ครูผู้สอนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี จำนวน 80 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ระดับชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,730 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตาราง ของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 11 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ แบบวัดทักษะ จำนวน 2 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 3 ฉบับ รวมจำนวน 17 ฉบับั สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ T-test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟาหาค่าความ เชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตรของครอนบาร์คและใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน โดยสรุปมีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของบุคคล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ระดับความเหมาะสมในการประสานงาน พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ในระดับ มากที่สุด
3.2 ระดับความเหมาะสมในการนิเทศ ติดตาม พบว่า การนิเทศ ติดตามโครงการผ่านเกณฑ์ การประเมินในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน 10 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า (COVID-19) ของครู ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ ปานกลาง
4.2 ครูที่มีทักษะการสอน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ครูมีทักษะการสอน ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับ มาก
4.3 ครูที่มีทักษะการผลิตสื่อการสอน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ครูมีทักษะการผลิต สื่อการสอนผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด
4.4 ครูผลิตสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามบุคลากรที่ผลิตเสร็จ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการ ครูผลิตสื่อการสอน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด
4.5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วม โครงการแล้ว นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
4.6 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
4.7 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
4.8 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
4.9 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
4.10 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก
ข้อเสนอแนะ
1. ควรทำการประเมินเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการ การบริหารการ จัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
2. ควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบที่เหมาะสม เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนภายใต้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาล นนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ มาเป็น แนวทางในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 (COVID-19) ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
3. ควรมีการประเมินเชิงสาเหตุ เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อโครงการ ซึ่งสามารถนำไปแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาโครงการให้ตรงตามสาเหตุจากปัญหาของการประเมินต่อไป