ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง
(Coaching and Mentoring) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ผู้ประเมิน นายบรรจง หนูไชยา รองผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ และ คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา และผลประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 853 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการนิเทศภายใน ศึกษาจากประชากร 44 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาจากประชากร 13 คน ครูผู้สอน 114 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) นักเรียน 341 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และผู้ปกครอง 341 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่สุ่มได้ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง .83 .96 และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา และแบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความตรงเชิงเนื้อหา(Validity) ใช้สูตร IOC และหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Co-efficient) สถิตที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมิน และข้อเนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทั้งหมด คือ
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการความจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.3 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน อยู่ในระดับมาก
1.4 ความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ความพร้อมของบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเพียงพอของงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ อยู่ในระดับมาก
2.4 ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 การวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก
3.2 การดำเนินกิจกรรมตามแผน อยู่ในระดับมาก
3.3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล อยู่ในระดับมาก
3.4 การแก้ไข ปรับปรุง ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับมาก
4.4 คุณภาพผู้เรียน
4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา พบว่าร้อยละนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับดี (3) ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 77.23 อยู่ในระดับมาก ผ่านการประเมิน
4.4.2 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่าร้อยละนักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีถึงดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 99.74 อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านการประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาครู
2. โรงเรียนควรพัฒนากระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัด และมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง