ชื่อผลงาน การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
โรงเรียนสุไหงโก-ลก
ผู้พัฒนา นายรอมฎอน สันง๊ะ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุไหงโก-ลก
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส
บทคัดย่อ
โรงเรียนสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนทรายทอง 2 ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96120 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส จากการสรุปผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้หลายด้าน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ปัญหาหนึ่งที่พบคือ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนไม่เหมาะสม ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครูผู้สอน มีสภาพไม่น่าเรียน ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ขาดระบบการบริหารจัดการและควบคุมดูแลชั้นเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่ดี ทำให้สภาพห้องเรียนส่วนมากมีสภาพไม่เหมาะสม จากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้รายงานซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ช่วยบริหาร ดูแล กำกับ ติดตาม กลุ่มบริหารงานทั่วไป ซึ่งรวมไปถึงงานอาคารสถานที่ จึงมีความตั้งใจที่จะทำการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนไปกับกลุ่มงานอื่นๆ เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะส่งผลดีต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนในโอกาสต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ได้เต็มศักยภาพ
2. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ที่เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
3. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน มีความรักหวงแหนโรงเรียน และส่งเสริมบุตรหลานเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น
วิธีดำเนินการ
การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียน สุไหงโก-ลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส ใช้หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) โดยใช้ SUNGAI Model มาใช้ในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีคุณภาพ เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมของข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีการกำกับ นิเทศติดตามที่ดี มีการวัดผลประเมินผล และนำผลการประเมินไปใช้เพื่อปรับปรุง พัฒนาต่อไป ประกอบด้วยการวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) และการพัฒนาปรับปรุง (Action) รูปแบบการบริหาร SUNGAI โมเดล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครู ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจในผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน และทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน โดยจากการทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสุไหงโก-ลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นโรงเรียนได้มีการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น การทาสีอาคาร การปรับภูมิทัศน์ การปรับปรุงห้องปฏิบัติการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) และประเด็นที่มีคะแนนอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ( = 3.86) คือ ห้องน้ำสะอาดและมีอุปกรณ์ เช่น ถังน้ำ ขันน้ำ สายน้ำ ประตูมิดชิดเรียบร้อย ซึ่งโรงเรียนจะต้องทำการปรับปรุงต่อไป