บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับกิจกรรมในโครงการ และการเตรียมการของบุคลากรภายในโครงการ 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ได้แก่ การประเมินความพร้อมของปัจจัยดำเนินงาน ได้แก่ บุคลากร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ และงบประมาณในการดำเนินโครงการ 3. เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินโครงการ ได้แก่ การประเมินกิจกรรมการดำเนินโครงการ การดำเนินงานตามโครงการ การนิเทศ ติดตาม กำกับ และการประเมินผล 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ได้แก่ การประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ และนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมรักการอ่านแก่นักเรียนต่อไป โดยผู้ประเมินโครงการได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ สำหรับประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 14 คน ข้าราชการครูจำนวน 28 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 127 คน นักเรียนจำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองกันเกรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 เป็นแบบประเมินและแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง จำนวน 4 ฉบับ
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์บริบทของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 พบว่าในภาพรวมความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการกำหนดกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองกันเกรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 พบว่า ในภาพรวมความเหมาะสมและเพียงพอของปัจจัยนำเข้าแต่ละกิจกรรม ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการวิเคราะห์กระบวนการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองกันเกรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 พบว่า ในภาพรวมความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการวิเคราะห์ผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียน
วัดหนองกันเกรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 พบว่า ภาพรวมความมีประสิทธิผลของการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด