ชื่อผลงาน : รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
โรงเรียนบ้านตอกตรา ปีการศึกษา 2563 - 2564
ผู้รายงาน : นางสาวมัทนียา ทองยุ้น
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2563 - 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
โรงเรียนบ้านตอกตรา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านภูมิทัศน์ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน และด้านปฏิสัมพันธ์ของบุคคล 2) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตรา โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ปีการศึกษา 2563 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 45 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 45 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน โรงเรียนสว่างราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน7 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6จำนวน 113 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 113 คน โรงเรียนบ้านตอกตรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .927 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .930 ฉบับที่ 3 ได้ค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .921 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .923 และฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .928 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตรา ตามความเหมาะสมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563 - 2564 พบว่า มีระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและความเป็นไปได้ของโครงการ ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมินได้ผ่านเกณฑ์ โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
2. สรุปผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตรา ตามความพร้อมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมินผ่านเกณฑ์และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
3. สรุปผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตรา ตามการปฏิบัติของครูและบุคลกรทางการศึกษาและนักเรียน ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมินผ่านเกณฑ์และทุกประเด็นตัวชี้วัดเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้มีผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมิน สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
4. ผลประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสว่างราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตราตามคุณภาพของครูและบุคลกรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดโดยประเมิน 6 ด้าน คือ ด้านภูมิทัศน์ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน และด้านปฏิสัมพันธ์ ของบุคคล ทั้ง 3 กลุ่ม ที่ประเมินผ่านเกณฑ์และทุกประเด็น สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลการทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตอกตรา ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่ม ที่ประเมินผ่านเกณฑ์และทุกประเด็นตัวชี้วัดเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดไว้ มีผลปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้