ชื่อเรื่อง : การพัฒนานิทานประกอบภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : เบญญาภา พิศมัย
โรงเรียน : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลแป้นจันทร์กระจ่าง สังกัดเทศบาลเมืองสวรรคโลก
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ปีที่การศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของนิทานประกอบภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ศึกษาผลการใช้นิทานประกอบภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟัง สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาผลการใช้นิทานประกอบภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการพูด สำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) เปรียบเทียบการจัดกิจกรรมก่อนและหลังการเล่านิทานประกอบภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะ ทางด้านภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นปฐมวัย 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลแป้นจันทร์กระจ่าง สังกัดเทศบาลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสือนิทานประกอบภาพเพื่อสงเสริมทักษะทางด้านภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 เรื่อง และ2) แบบวัดทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. นิทานประกอบภาพเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 87.50/82.73 แสดงว่า นิทานประกอบภาพเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. หลังจากกิจกรรมโดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟัง สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า นักเรียนมีทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟัง โดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.84
3. หลังจากกิจกรรมโดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการพูด สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า นักเรียนมีทักษะทางด้านภาษา ด้านการพูด โดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.73
4. ผลการเรียนรู้โดยใช้นิทานส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟังและการพูด ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้นิทานส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ด้านการฟังและการพูด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ .01 โดยหลังการจัดกิจกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้