ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์
โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาวประภาศรี นุ่นเกลี้ยง
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 2) ระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2564 3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2564 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (GPA) ปีการศึกษา 2564 5.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 5.3) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 285 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 11 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.87- 0.95 และแบบบันทีกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.3 และ ม.6 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา2564 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( X = 4.59, .D.=-0.13) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.60, S.D. =0.15 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X = 4.45, S.D. =0.1 1) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X = 4.46, S.D.=0.12) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ย (X = 4.62, S.D.=0.11) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละ ด้านพบว่า ด้านการคิดเชิงรุก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 4.70, S.D.-0.22) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการคิดประชันความต่างมีค่าเฉลี่ย (X = 4.69, S.D.-0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคิดให้สนุกอย่างสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.58, S.D. =0.26 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคิดแนวทางการแข่งขัน มีค่าเฉลี่ย (X = 4.56, S.D. =0.27 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านคิดก้าวย่างเพื่อคุณภาพยั่งยืน มีค่าเฉลี่ย (X = 4.54, S.D.= 0.32 อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( X = 4.39, S.D. =0.24 อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหาร ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้และร่วมศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นเร่งด่วนของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.85, S.D.=0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.54, S.D.=0.71) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงหรือการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.00, S.D.-0.80 อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( X = 4.55, S.D.=0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า การวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 4.71, S.D.=0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การวัดผลและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย (X = 4.66, S.D.=0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X = 4.55, S.D.=0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนหารเหารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคำเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย (X = 4.60, S.D. = 0.1 7 อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย ( X = 4.58, S.D.= 0.16) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.58, S.D. =0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า การสนับสนุนให้ครูใช้ภาวะผู้นำหรือการปรับปรุงโรงเรียนและการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.75, S.D.=0.43) อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมา คือการสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระบบการทำงานกับเทคโนโลยีเพื่อให้ครูสามารถใช้งานได้ทันความต้องการ มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.73, S.D.=0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบทีมในการนิเทศภายในโรงเยนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.37, S.D. = 0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
4.5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 3.55 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.2 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี,ดีเยี่ยม ร้อยละ 99.45 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี,ดีเยี่ยม ร้อยละ 98.86 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) มีค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 98 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการนิทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรจัดให้มีโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด
ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับ การสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
4. โรงเรียนควรพัฒนานิทศภายในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปปั (CIPP Mode) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม