ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีบทบาทและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่ใช้กันมากที่สุดในนานาประเทศภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญทางการเรียนการสอนของการศึกษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีพุทธศักราช 2551 ที่กำหนดให้ภาษาอังกฤษอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การจดจำคำศัพท์ต่างๆ
ก็ถือว่าเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่สำคัญอีกวิธีการหนึ่ง นักเรียนจะสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนภาษาอังกฤษได้ก็ต่อเมื่อนักเรียนนำคำศัพท์นั้นๆ ไปใช้ในบทเรียนและชีวิตประจำวันได้แต่นักเรียนไทยไม่สามารถที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการพูดสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการจดจำคำศัพท์ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนไม่ทราบความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษหรือทราบความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ไม่สามารถนำคำศัพท์เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคำศัพท์เป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การพูดเพื่อการสื่อสาร
คำศัพท์ถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานของนักเรียนที่จะทำให้การเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นที่เข้าใจและเป็นเครื่องมือที่จะนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดี ผู้เรียนยังมีปัญหาในเรื่องของคำศัพท์อยู่มาก เช่น
การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียนศัพท์ให้ถูกต้อง ก็ถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนไม่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้และอาจเป็นเพราะนักเรียนยังขาดความเอาใจใส่ในเรื่องการท่องคำศัพท์
การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียนที่ถูกต้อง อีกทั้งการพัฒนาด้านความพร้อมตามศักยภาพของเด็กก็อาจไม่เท่ากัน
จึงไม่สามารถจดจำคำศัพท์ได้ตามจำนวนที่กำหนดให้ได้
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พยายามศึกษาและส่งเสริมที่จะช่วยให้นักเรียนได้จดจำคำศัพท์และนำไปใช้ในการเรียน
การสอนในวิชาภาษาอังกฤษให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพให้เกิดกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้นโดยการจัดการเรียนรู้
โดยการใช้ชุดคำศัพท์คล้องจองในการจัดสภาพแวดล้อมและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนที่เหมาะสมหลากหลายวิธีและมีความสนุกสนานก็มีความสำคัญต่อการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยรูปแบบชุดคำศัพท์คล้องจองเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน
2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดคำศัพท์คล้องจอง
ผลการวิจัย
1.หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้การจดจำคำศัพท์โดยเทคนิคการจดจำคำศัพท์โดย ชุดคำศัพท์คล้องจองแยกตามรายแผนการสอนโดยนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 60 ขึ้นไป
2. หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้การจดจำคำศัพท์โดยเทคนิคการจดจำคำศัพท์โดยชุดคำศัพท์คล้องจองโดยวัดและประเมินผลจากการสอบหลังเรียนซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 50 ขึ้นไปจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 75 และมีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 25 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนมีมากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรนำเอาการสอนคำศัพท์โดยใช้กิจกรรมการจดจำคำศัพท์โดยชุดคำศัพท์คล้องจองกับนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อศึกษาดูความสามารถในการเรียนรู้และการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
2.ควรนำกิจกรรมชุดคำศัพท์คล้องจองทดลองปรับใช้กับการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในด้านของการพูด การฟัง การอ่านหรือการเขียนเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ