บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ DREAM เพื่อส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา ตามแนวทางวิถีพุทธ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินแดง 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา 3) ตรวจสอบด้วยการเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาฯและครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาฯและครู จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยเป็นแบบสำรวจ จำนวน 3 ฉบับ แบบสังเกต จำนวน 2 ฉบับ และแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และเปรียบเทียบความมีวินัยและทักษะกีฬา เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องก่อนและหลัง โดยใช้ค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจความต้องการจำเป็น ในการพัฒนารูปแบบ DREAM เพื่อส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา ตามแนวทางวิถีพุทธของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินแดง พบว่า ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาฯและครู มีความต้องการให้พัฒนารูปแบบ DREAM เพื่อส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา ตามแนวทางวิถีพุทธ อยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ
2. ผลการพัฒนารูปแบบ DREAM เพื่อส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา ตามแนวทางวิถีพุทธปรากฏว่า รูปแบบมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ขั้นตอน ที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เริ่มต้นจาก 1) สร้างฝันสู่เป้าหมาย 2) เพิ่มพูนสิ่งเด่น 3) ชี้แจงทำความเข้าใจ 4) ได้เจตคติที่ดี 5) ขับเคลื่อนอย่างก้าวทัน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม PDCA และกระบวนการ PLC ทุกขั้นตอน ได้รูปแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องต่อเนื่องกันเป็นวัฏจักร และส่งผลร่วมกันให้เกิดการพัฒนาวินัยและทักษะกีฬาของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินแดง ส่วนผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผลการตรวจสอบการใช้รูปแบบการส่งเสริมวินัยและทักษะกีฬา ตามแนวทางวิถีพุทธ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินแดง
3.1 ด้านวินัย พบว่า นักเรียนมีวินัย อยู่ในระดับมากที่สุดและพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ด้านทักษะกีฬา พบว่า นักเรียนมีทักษะกีฬา อยู่ในระดับมากที่สุด และพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.5 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาฯและครู พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาฯและครู อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01