ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน
เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์
สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นายกรานต์ แผ่นพรหม
ปีที่ทำวิจัย : 2564
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบ
การสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสิริราชอนุสรณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) จำแนกตามห้องเรียน ซึ่งแต่ละห้องเรียน มีผลการเรียนคละกันทุกห้อง
สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1.1 องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ หลักการหรือแนวคิดของรูปแบบการสอน จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน ขั้นตอนการสอน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน 1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้นาฎศิลป์ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ โดยรวมและรายข้อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 ในการเรียนการสอนนาฏศิลป์เท่าที่ผ่านมาเน้นการเรียนจากครูเป็นสำคัญ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบมี 5 องค์ประกอบดังนี้ ด้านหลักการ ด้านจุดประสงค์ ด้านขั้นตอนการสอน และด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยด้านขั้นตอนการสอนมี 5 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสาธิตทักษะ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติทักษะย่อย ขั้นที่ 3 ขั้นปฎิบัติอย่างสมบูรณ์ ขั้นที่ 4 ขั้นปฎิบัติอย่างชำนาญ และขั้นที่ 5 ขั้นริเริ่มและประยุกต์
3. การทดลองรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.73/84.22 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถศิลป์สานเข่งปลาทู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก