ชื่อเรื่อง การบริหารงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ผู้ศึกษา นายฉลอง ไหมคง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านฉลองชัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การบริหารงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนบ้านฉลองชัย ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามการบริหารงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนบ้านฉลองชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการบริหารงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนบ้านฉลองชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 โดยการดำเนินงานตามกระบวนการของวงจรคุณภาพ (PDCA) หรือ วงจรเดมมิ่ง ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับ
ผลการศึกษา
1. ผลที่เกิดต่อผู้เรียน
นักเรียนเกิดจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถเรียนรู้หลักธรรมคำสอนของศาสนาอย่างถูกต้อง นำหลักธรรมคำสอนไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นักเรียนรู้จักตนเอง รู้หน้าที่ พร้อมที่จะพัฒนาตนเองตามสมควรแก่วัย เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ประพฤติ ปฏิบัติ จนเกิดเป็นลักษณะนิสัย มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องเหมาะสม นำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และจนทำให้นักเรียนได้รับรางวัลต่างๆ
2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู และบุคลากรทางการศึกษา
ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษามีความรัก ความสามัคคี มีความรักชาติ มีจิตสาธารณะ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์พระราชานำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการการจัดการเรียนการสอน
ครูปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานตำแหน่ง ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ
มีการวิเคราะห์หลักสูตรอย่างรอบด้าน กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนชัดเจน ครูมีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตน นับถือ เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
3. ผลที่เกิดต่อสถานศึกษา
สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และบุคลากรรวมถึงผู้เรียนมีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง
4. ผลที่เกิดต่อผู้ปกครอง/ชุมชน
ชุมชนมีความตั้งใจ จริงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจกรรม จนเกิด การพัฒนาสถานศึกษาในด้านต่างๆจนเป็นที่ยอมรับของชุมชน ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจในตัวนักเรียน ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
ควรประเมินโครงการสัมพันธ์ชุมชนฉลองชัยร่วมใจสู้ภัยโควิด๑๙ โดยประยุกต์ทฤษฎีการประเมินอื่นๆ มาใช้ในการประเมินโครงการ เช่น การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ และสำหรับสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบแล้ว ควรรักษาสภาพ
พัฒนาให้เห็นถึงความก้าวหน้า สู่ความยั่งยืนต่อไป
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ว่าการบูรณาการ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษานั้น ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาหรือไม่อย่างไร เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนและดำเนินงานบริหารโรงเรียนต่อไป