ผู้วิจัย สิทธิชัย เดชาสิทธิ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกมะขาม
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 3) เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้าน โคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และระยะที่ 4.ประเมินผลผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของร่างรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด พบว่าร่างรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น โดยรวมพบว่าผลการตรวจสอบอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ โดยรวมพบว่าผลการตรวจสอบอยู่ในระดับมาก
3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า 3.1) ผลการประเมินความสามารถในการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้าน โคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 4.1) ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก 4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของครูโรงเรียนบ้านโคกมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการนิเทศ, การนิเทศภายใน