การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษาความเหมาะสมของงบประมาณ และ ความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน เกี่ยวกับกระบวนการวางแผน การดำเนินการและการนิเทศติดตามและประเมินผลของโครงการ 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน เกี่ยวกับ 4.1) ด้านผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ 4.2 ) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน 4.3) ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งสิ้น 613 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 66 คน นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 280 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 254 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.50, S.D. = .67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.18 4.73 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 4 โครงการมีความจำเป็นในการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาด้านส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน (x̄ = 4.73, S.D. = .54) รองลงมาคือข้อ 6 โครงการสอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นของโรงเรียน
( x̄= 4.68, S.D. = .59) และข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 3 โครงการมีความสอดคล้องกลยุทธ์ ความต้องการโรงเรียน
( x̄ = 4.18, S.D. = .82)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.50, S.D. = .67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.13 4.65 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 1 โรงเรียนมีความพร้อมด้านครู บุคลากร เพื่อดำเนินโครงการ
( = 4.65, S.D. = .68) รองลงมาคือ ข้อ 7 กิจกรรมที่กำหนดมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ ( x̄ = 4.59, S.D. = .59) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 9 กิจกรรมที่กำหนดมีความสอดคล้องเหมาะสมกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ (x̄ = 4.13, S.D. = .93)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58, S.D. = .62) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.27 4.72 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 12 การประเมินผลระหว่างการปฏิบัติงาน (x̄ = 4.72, S.D. = .57) รองลงมาคือ ข้อ 11 ความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องของกิจกรรม ( x̄ = 4.71, S.D. = .55) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 5 มีการประชุมผู้ปกครอง วิทยากร เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ( x̄ = 4.27, S.D. = .65)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต 4.1 ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.52, S.D. = .64) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.22 4.77 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 24 นักเรียน ครูและบุคลากรมีสุขนิสัยที่ดีในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (x̄ = 4.77, S.D. = .53) รองลงมาคือ ข้อ 21 นโยบายมีความเหมาะสมครอบคลุมงานส่งเสริมสุขภาพ ( x̄ = 4.70, S.D. = .54) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 15 โรงเรียนมีห้องพยาบาลแยกเป็นสัดส่วน เหมาะสม (x̄ = 4.22, S.D. = .74)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.64, S.D. = .58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.50 4.85 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 10 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ( x̄ = 4.85, S.D. = .45 รองลงมาคือ ข้อ 12 นักเรียนมีร่างกายแข็งแรง ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยลดลง
( x̄ = 4.83, S.D. = .48) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 3 การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการให้ทุกภาคส่วนรับรู้หลายช่องทาง (x̄ = 4.50, S.D. = .58)
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.56, S.D. = .66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.32 4.73 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 15 วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามโครงการมีเพียงพอ ( = 4.73, S.D. = .57) รองลงมาคือ ข้อ 6 ผลที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด (x̄ = 4.68, S.D. = .63) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 2 กิจกรรมของโครงการหลากหลายครอบคลุมด้านสุขภาพอนามัย ข้อ 10 กิจกรรมการดำเนินงานเป็นไปตามกำหนดเวลา (x̄ = 4.32, S.D. = .65)
ผลการประเมินการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยในภาพรวมรายด้านตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ที่มีผลการประเมินสูงที่สุด คือ ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ( x̄ = 4.64, S.D. = .58) ตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินรองลงมา คือ
ด้านกระบวนการ ( x̄ = 4.58, S.D. = .62) ตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินต่ำสุด คือ ด้านบริบท (x̄ = 4.50,
S.D. = .67) ด้านปัจจัยนำเข้า ( x̄ = 4.50, S.D. = .67)