การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส ปีการศึกษา 2561-2563 โดยประยุกต์การประเมินโครงการตามตัวแบบ ซิป ของ สตัฟเฟิลบีม ดำเนินการประเมินแบบต่อเนื่องทีละขั้นตอน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส ปีการศึกษา 2561-2563 ประชากรได้จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ คือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครอง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าของเครจซีและมอร์แกน (1970 : 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ
กลุ่มที่ 1 สำหรับการประเมินด้านบริบทของโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
กลุ่มที่ 2 สำหรับการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน และครู ปีการศึกษา 2561 2563 จำนวน 108 , 124 และ 119 คน ตามลำดับ
กลุ่มที่ 3 สำหรับการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน และครู ปีการศึกษา 2561 2563 จำนวน 108 , 124 และ 119 คน ตามลำดับ
กลุ่มที่ 4 สำหรับการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในประเด็นผลสำเร็จของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน ครู ปีการศึกษา 2561 2563 จำนวน 108 , 124 และ 119 คน ตามลำดับ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2561 2563 จำนวน 338 , 338 และ 341 คน ตามลำดับ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม 5 ฉบับ 1) แบบสอบถามการประเมินด้านบริบท มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 2) แบบสอบถาม การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบสอบถามการประเมินด้านกระบวนการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.84 0.94 4) แบบสอบถามการประเมินด้านผลผลิต มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 5) แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมินดังนี้
1. ผลการประเมินพบว่าบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปีการศึกษา 2561-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่า
ผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ มีความสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความสามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินพบว่าปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา
2561-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและครู โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการ เรื่องความรับผิดชอบของบุคลากร และความเหมาะสมของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินพบว่ากระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา
2561-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและครู โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อกระบวนการของโครงการทั้ง 6 กิจกรรม เรื่อง การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจนทุกกิจกรรมของโครงการ การกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนทุกกิจกรรมของโครงการ การนำผลการประเมินมาปรับปรุง และพัฒนาให้การดำเนินงานทุกกิจกรรมในโครงการพัฒนาดีขึ้น และผู้บริหารให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินพบว่าผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา
2561-2563 มีดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมพัฒนาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมา กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา กิจกรรมเสริมสร้างนักเรียน กิจกรรมพัฒนานวัตกรรม R.O. Student Care อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมิน ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระบบการ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดราชโอรส ประจำปีการศึกษา 2561 2563 พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม มีความพึงพอใจสอดคล้องกันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน วัดราชโอรส ประจำปีการศึกษา 2561 2563 การดำเนินการตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรสมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นและเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมในภาพรวมสรุปได้ว่าผลผลิต การดำเนินตามโครงการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส พบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นทุกปี