ชื่อผู้วิจัย นางพรพิมล ละอองเดช
บทคัดย่อ
ปัจจุบันโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เศรษฐกิจกำลังมีปัญหาน้ำมันแพงขึ้นของกินของใช้ก็มีราคาแพง น้ำและไฟฟ้าก็มีราคาแพงเรื่อยมา จากสภาวการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ เพราะประเทศไทยผลิตน้ำมันมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนทั้งประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า น้ำ และน้ำมันเชื้อเพลง ในการคมนาคมขนส่ง ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำเสนอแนวคิด เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเพื่อให้คนไทยได้รู้จักประหยัด รู้จักใช้ในสิ่งที่จำเป็น ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง รวมทั้งใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งน้ำ ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงอย่างระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดปัญหา
โรงเรียนวัดคลองกระจง เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่มีการน้ำนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปลูกฝังการประหยัดให้กับนักเรียน อีกทั้งโรงเรียนมีปัญหาเรื่องน้ำประปา โดยในแต่ละเดือนโรงเรียนจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าน้ำประปาหลายบาท ซึ่งมากเกินความจำเป็นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน
ผู้วิจัย พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปฏิบัติตนไม่เหมาะสมในเรื่องของการประหยัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเรียนเสร็จแล้ว นักเรียนไม่ปิดไฟฟ้า และไม่ปิดพัดลม ในบางครั้งนักเรียนฉีกกระดาษจากสมุดที่เรียนมาพับรถ หรือพับจรวดเล่นกัน ทำให้สมุดที่ใช้สำหรับเขียนหนังสือหมดเร็วและไม่เพียงพออีกทั้งนักเรียนรับประทานอาหารไม่หมด เหลือผักทิ้งเป็นประจำ และเมื่อมาแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ นักเรียนก็เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟัน ทำให้ผู้วิจัยพบว่า นักเรียนไม่มีความประหยัด จึงได้ดำเนินการวิจัย เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประหยัดตั้งแต่เด็กเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติต่อไป
แนวคิดและทฤษฎีของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด นานกว่า 25 ปี ตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิดเป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กันดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง
และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง
ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความ
รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจิต
และมีอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ กาพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวอล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดคลองกระจง พัฒนาพฤติกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการประหยัด
ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการประหยัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคลองกระจง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน
เนื้อหา/หลักวิชา คือ การประหยัด การปฏิบัติตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยพิจารณาจากการมีปิดไฟทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟัน ไม่ฉีกกระดาษสมุดหรือกระดาษที่สามารถใช้งานได้มาเขียนเล่น หรือนำมาพับจรวด พับรถ หรือพับเป็นรูปต่าง ๆ และรับประทานอาหารหมดจานทุกครั้ง และเลือกซื้อของแต่เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
วิธีการพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ครูให้ความรู้นักเรียนในเรื่องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบายโรงเรียนเกี่ยวกับการ
ประหยัด
2. ศึกษาเรื่องเทคนิคการสอนโดยวิธีการย้ำเตือน
3. ศึกษาพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่นักเรียนควรแสดงออกและต่อหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า และการใช้สิ่งของเครื่องใช้
4. ทำการย้ำเตือนหลังเคารพธงชาติของทุกวันในพฤติกรรมที่ควรแสดงออกตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้นักเรียนเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้อง
5. ให้นักเรียนมาเล่าพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและประสบความสำเร็จในแต่
ละวันแม้แต่เล็กน้อยก็ตาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสำรวจ 3 ระดับ หากแสดงพฤติกรรมโดยการกระทำเป็นประจำ 3
คะแนน ทำบางครั้ง 2 คะแนน ไม่ค่อยทำ 1 คะแนน ตามลำดับ โดยเป็นแบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สรุปและอภิปรายผล
โดยรวมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย
พิจารณาจากการปิดไฟทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ ไม่เปิดน้ำทิ้งขณะแปรงฟัน ไม่ฉีกกระดาษ สมุดหรือนำกระดาษที่สามาระใช้งานได้มาเขียนเล่น หรือนำมาพับจรวด พับรถ หรือพับเป็นรูปแบบต่าง ๆ รับประทานอาหารหมดจาน ซื้อของแต่เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้นหมายความว่า การสอนนักเรียนด้วยวิธีการย้ำเตือนมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
ข้อเสนแนะ
1. ผู้วิจัยอาจใช้วิธีการพัฒนาโดยให้ผู้เรีนยกับครูผู้วิจัยวางแผนกิจกรรมร่วมกันซึ่งอาจส่งผลต่อ
พฤติกรรมของผู้เรียนได้ดีขึ้น
2. ครูควรใช้วิธีการง่าย ๆ หรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาใช้ในการส่งเสริมกาประหยัด เช่น
การพูดคุย การเล่าเรื่อง การแสดงบทบาทสมมติ เข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมประหยัดทั้งในโรงเรียนและที่บ้านของตน