สุภาพร บุญช่วย (2564) การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาตามแนวพระราชดำริสู่
สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านฝ่ายท่า
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาตามแนวพระราชดำริสู่ สถานศึกษาพอเพียง
โรงเรียนบ้านฝ่ายท่า ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณโครงการ ความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูก ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการ การกำกับติดตาม ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทักษะการดำเนินโครงการ ปริมาณผักปลอดสารผิด รายได้ของโครงการ การออม ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 236 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 109 คน ผู้ปกครอง 109 คน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 2 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยประเด็นที่ผ่านในระดับมากที่สุดมี 2 ประเด็น คือ ด้านบริบทและกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ในระดับปานกลาง 2 ประเด็น คือ ด้านปัจจัยนำเข้าและผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
1.2 ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2.2 ตัวชี้วัดความเหมาะสมของพื้นที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ตัวชี้วัดกิจกรรมตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3.2 ตัวชี้วัดการกำกับติดตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า มีผลการดำเนินโครงการในประเด็นผลผลิตในระดับปานกลาง โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับมาก
4.2 นักเรียนที่มีทักษะการดำเนินโครงการ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 ปริมาณผักปลอดสารพิษที่ผลิตได้ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง
4.4 ปริมาณผักปลอดสารพิษที่นำไปใช้ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง
4.5 ปริมาณผักปลอดสารพิษที่จำหน่ายได้ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง
4.6 จำนวนรายได้ของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.7 ร้อยละของนักเรียนที่มีเงินออมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.8 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.9 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.10 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตของโครงการ ตัวชี้วัดปริมาณผักปลอดสารพิษที่ผลิตได้
ปริมาณผักปลอดสารพิษที่นำไปใช้ ปริมาณผักปลอดสารพิษที่จำหน่ายได้ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง จึงควรดำเนินการดังนี้
1.1 คณะครูและนักเรียนควรมีการวางแผนเตรียมการในการรับมือและแก้ไขปัญหาเรื่องศัตรูพืช
1.2 คณะครูศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะปลูกและการดูแลผักให้เข้าใจและถ่ายทอด
ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการปลูกผัก ดูแลผักเพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายและผลผลิตสวยงามน่าบริโภค