บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
รูปแบบของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ผู้ประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product)
กลุ่มเป้าหมายในการประเมินโครงการ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาล 2 - 3 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 277 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 125 คน ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาล 2 - 3 จำนวน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 125 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ซึ่งในการประเมินครั้งนี้ใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำหรับการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ และแบบประเมินความสามารถด้านการคิดและแก้ปัญหา จำนวน 1 ฉบับ ดังนี้
1. แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อม (Context) และปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
2. แบบสอบถามความคิดเห็นต่อกระบวนการ (Process) ของโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
3. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
โดยแบบสอบถามทั้ง 3 ฉบับนี้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)
4. แบบสอบถามความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนระดับปฐมวัย ใช้สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนระดับปฐมวัยต่อกิจกรรมเข้าค่ายสร้างสรรค์ นักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 2 ตัวเลือก คือ พอใจ กับไม่พอใจ
5. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบประเมินชนิดเลือกตอบจากสถานการณ์และเงื่อนไขที่กำหนด โดยเป็นข้อคำถามที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องการประเมิน 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการใช้ตัวเลข ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการสื่อความหมาย ซึ่งในแต่ละทักษะประกอบด้วยข้อประเมินทักษะละ 10 ข้อ
6. แบบประเมินความสามารถด้านการคิดและแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบประเมินโดยการกำหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วให้นักเรียนเลือกตอบวิธีการแก้ปัญหาของสถานการณ์ที่กำหนดนั้น ตามภาพที่เป็นตัวเลือก 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. จัดทำโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
2. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ และหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
3. เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายในการประเมินโครงการ
4. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์และความสามารถด้านการคิดและแก้ปัญหา โดยการหาค่าความถี่ และร้อยละ
5. สรุปรายงานผลการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
สรุปผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการดำเนินการของโครงการ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ วิธีการดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และโครงการมีความเหมาะสมกับศักยภาพและเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาของโรงเรียน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองรายการ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โครงการมีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับการเรียนในระดับที่สูงขึ้น โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน มีความรู้ ความสามารถในการดำเนินโครงการ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอในการดำเนินโครงการ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง
1.3 ผลการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีความสุข และสนุกสนานกับกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ในค่ายสร้างสรรค์ นักวิทยาศาสตร์น้อย รองลงมาได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถดำเนินงานได้ครบทุกกิจกรรมที่กำหนดในโครงการ โดยทั้งสองรายการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานมีความชัดเจน เป็นขั้นตอนตามลำดับ และสามารถนำแผนสู่การปฏิบัติได้ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง
1.4 ผลการประเมินโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัยโรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) ด้านผลผลิต (Product) สรุปได้ดังนี้
1.4.1 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียนระดับปฐมวัย พบว่า จำนวนนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 70 ทุกทักษะ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายทักษะ พบว่า จำนวนนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับดีขึ้นไป มากที่สุด ได้แก่ ทักษะการใช้ตัวเลข รองลงมาได้แก่ ทักษะการวัด ส่วนทักษะที่นักเรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป น้อยที่สุด ได้แก่ ทักษะการสื่อความหมาย สำหรับความสามารถด้านการคิดและแก้ปัญหา พบว่า จำนวนนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความสามารถด้านการคิดและแก้ปัญหา ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 88.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้
1.4.2 ด้านความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมเข้าค่ายสร้างสรรค์ นักวิทยาศาสตร์น้อย ของนักเรียนระดับปฐมวัย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจกิจกรรมในภาพรวม ร้อยละ 97.60 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า ทุกกิจกรรม นักเรียนมีความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ทุกกิจกรรม โดยกิจกรรมที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมน้ำมะนาวโซดาแสนอร่อย โดยมีความพึงพอใจ ร้อยละ 100.00 รองลงมาได้แก่ กิจกรรมฟองสบู่รูปสี่เหลี่ยมและทรงกลม และกิจกรรมลูกโป่งพองโตและขวดบุบเองได้ โดยมีความพึงพอใจเท่ากันทั้งสองกิจกรรม คือร้อยละ 97.60 ส่วนกิจกรรมที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ กิจกรรมแสงสีขาวกับสีรุ้ง โดยมีความพึงพอใจร้อยละ 88.80
2. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสัญจรนักคิดสู่กระบวนการวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) พบว่า ในภาพรวม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า รายการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและมีความสุขในการร่วมกิจกรรม โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความพร้อมเกี่ยวกับอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีสำหรับการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนรายการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ กิจกรรมที่กำหนดตามโครงการ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง