ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผู้รับผิดชอบ นายวีรพรรณ์ บุษราคำ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง)
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ รวมทั้งหมด จำนวน 388 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 180 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.883 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.914 ฉบับที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.875 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.930 และฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.21,  = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็น ในระดับมากทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 วัตถุประสงค์ ของโครงการมีความชัดเจนสอดคล้องกับวิธีดำเนินการ และผู้ปกครองและชุมชนให้การสนับสนุน การดำเนินงานตามโครงการ ( = 4.50 ,  = 0.51) รองลงมา คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโครงการมีความเหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรของโรงเรียน ( = 4.43,  = 0.79) และโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน และหลักการและเหตุผลของโครงการมีความชัดเจน ( = 4.29,  = 0.71) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ โครงการสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ( = 3.79,  = 0.94) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74,  = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ ระดับความคิดเห็น ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ สถานที่จัดกิจกรรมมีความปลอดภัยและสามารถใช้จัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา คือ ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินโครงการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมตามโครงการเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน ( = 4.96,  = 0.19) และระยะเวลาการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ( = 4.89,  = 0.31) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีเอกสารคู่มือ หนังสือ และวารสารต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ ( = 4.54,  = 0.74)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ตามการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.75,  = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ระดับ การปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (A : Act) ( = 4.81,  = 0.36) รองลงมา คือ การวางแผน (P : Plan) ( = 4.79,  = 0.34) และการดำเนินการจัดกิจกรรม (D : Do) ( = 4.71,  = 0.47) ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ การติดตามประเมินผล (C : Check) ( = 4.70,  = 0.48)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ต่อการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75,  = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจกรรมมีความหลากหลาย น่าสนใจ และเหมาะสมกับนักเรียน ( = 4.98,  = 0.14) รองลงมา คือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมีความทันสมัย ( = 4.88,  = 0.12) และเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกคนอย่างเสมอภาค ( = 4.85,  = 0.36) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สะอาดและปลอดภัย ( = 4.53,  = 0.75)
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนวัดโคกช้าง (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86,  = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมธรรมะแสนสุขโดยสวดมนต์วันศุกร์สุดสัปดาห์ และโครงการช่วยให้การดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันของนักเรียนเป็นไปอย่างมีความสุข ( = 4.94,  = 0.25) รองลงมา คือ การแจ้งให้เห็นความสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่นักเรียน ( = 4.93,  = 0.27) และความประพฤตินอกห้องเรียนของนักเรียนที่หลังเข้าร่วมโครงการ ( = 4.92,  = 0.27) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดประกวดมารยาทไทยและฝึกปฏิบัติมารยาทงามอย่างไทยและความประพฤติในห้องเรียน ของนักเรียนที่หลังเข้าร่วมโครงการ ( = 4.75,  = 0.45)