บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกาญจนาราม ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนวัดกาญจนาราม ผู้ประเมินได้ใช้ รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) ในการประเมินโครงการ โดยมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้แบ่งการ ประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษา ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเหมาะสมของ วัตถุประสงค์โครงการและความเป็นไปได้ ของโครงการ ตลอดจนความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ การวางแผนระบบบริหารจัดการ กิจกรรม ระยะที่ 2 ระหว่างการดําเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินด้านกระบวนการ ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา และระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกาญจนาราม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูผู้สอน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน นักเรียน 191 คน และผู้ปกครอง 30 คน รวมทั้งสิ้น 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งผู้ประเมินได้จัดสร้างขึ้นโดยการตรวจพิจารณาหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต จำนวน 52 ข้อ ซึ่งแบบสอบถามประเมินด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.86 แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.86 แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.85 และแบบสอบถามประเมินด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ SPSS for Window 16.0 ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Stabdard deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการการประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียน วัดกาญจนาราม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.76,S.D.=0.41) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ดีมากทุกด้าน ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบริบท ( =4.83,S.D.=0.34) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ( =4.74,S.D.=0.41) และด้านกระบวนการ ( =4.70,S.D.=0.46) กับด้านปัจจัยนำเข้า ( =4.69,S.D.=0.41) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านบริบท มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.85,S.D.=0.34) เมื่อพิจารณารายข้อเห็นว่า ความต้องการและความจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.92,S.D.=0.28) และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ( =4.90,S.D.=0.31) รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ( =4.74,S.D.=0.43) ตาม ลำดับ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72,S.D.=0.42) เมื่อพิจารณารายข้อเห็นว่า ด้านบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.81,S.D.=0.31) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ( =4.72,S.D.=0.43) ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ ( =4.69,S.D.=0.50) และ ด้านงบประมาณ ( =4.61,S.D.=0.43) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72,S.D.=0.45) เมื่อพิจารณารายข้อเห็นว่า ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.83,S.D.=0.34) รองลงมา คือ การติดตามและประเมินผล ( =4.70,S.D.=0.50) การดำเนินงาน ( =4.66,S.D.=0.52) และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ( =4.60,S.D.=0.49) ตามลำดับ
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.74,S.D.=0.41) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนมากขึ้น ( =4.89,S.D.=0.34) รองลงมาคือ ผู้บริหาร และครูมีการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ( =4.88,S.D.=0.34) ผลการดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ( =4.87,S.D.=0.34) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ที่พึงประสงค์ ( =4.86,S.D.=0.21) นักเรียนมีทักษะชีวิตที่ดีและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ( =4.84.S.D.=0.39) และโครงการมีความคุ้มค่าเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ( =4.84.S.D.=0.39) นักเรียน ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม ( =4.80,S.D.=0.39) และโรงเรียน วัด ผู้ปกครองและชุมชน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากขึ้น( =4.80,S.D.=0.21) กิจกรรมตามโครงการสามารถนำไปปรับใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ( =4.76,S.D.=0.45) นักเรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่ดีและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ( =4.74,S.D.=0.29) บุคลากรในโรงเรียนมีการร่วมกันปฏิบัติงานมากขึ้น ( =4.69,S.D.=0.45) โรงเรียนได้รับความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา และได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษามากขึ้น ( =4.58,S.D.=0.50) ครู ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิด ( =4.54,S.D.=0.51) นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงตามกิจกรรมในโครงการ ( =4.53,S.D.=0.53) และ โรงเรียนจัดกิจกรรมในโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนอย่างหลากหลาย ( =4.51,S.D.=0.79) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
1.ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาด้านต่างๆ โดยการส่งเสริมกิจกรรมที่ทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไป และปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามบริบทที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
3. การประเมินติดตามผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมในโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน จะต้องมีการประเมินกิจกรรมทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม โดยผู้ดำเนินกิจกรรมทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผล
4. ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ควรสนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชนและสังคม เพื่อให้มีส่วนร่วมและมีกระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง