ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and
Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวธัญวรัตม์ เลิศพันธ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านช่องกะพัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา 3) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครู และนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านช่องกะพัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา แบบ PACA Model (Presentation ; Analysis ; Construction ; Application and Evaluation Model) มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเสนอ (Presentation : P) 2) ขั้นคิดวิเคราะห์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Analysis : A) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) และ 4) ขั้นนำไปใช้และประเมินผล (Application and Evaluation : A)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.77/86.11 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามรายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียน ( = 17.22, S.D. = 0.68) สูงกว่าก่อนเรียน ( =8.50, S.D. = 2.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดี
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา โดยภาพรวมความพึงพอใจของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.54) และโดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( =4.45, S.D. = 0.75)
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการพัฒนานี้ สำเร็จได้ด้วยความกรุณาจาก นายเดชา พูลวงศ์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 นางมนัสนันท์ เกิดเอี่ยม ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านตาเลียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 นางพัชรี แดนไธสง ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา นางสาวสุลัดดา สุริยะศร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนราษีไศล องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และนางสุพิชญา กะจะวงษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านช่องกะพัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ที่ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่ผู้วิจัยตลอดมา
ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู และขอบใจนักเรียน โรงเรียนบ้านช่องกะพัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ที่ให้ความร่วมมือในการทดลองเครื่องมือและ เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนี้เป็นอย่างดี
ธัญวรัตม์ เลิศพันธ์