โรงเรียนบ้านทับวัง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางเรณู รัตนประเสริฐ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านทับวัง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยกำหนดหน่วยเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก (1) ชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม จำนวน 10 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 10 แผน รวมเวลาที่ใช้ในการทดลอง 30 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน จำนวน 30 ข้อ (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า T (t-test แบบ Independent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการพัฒนามีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.96/84.38 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6653 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.6677 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.77
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ทศนิยม ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.50 S.D.=0. 48)