การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ
มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ การประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ ซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยมีขอบเขตด้านเนื้อหาในการประเมินโครงการ 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านบริบท (Context ) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ ในปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็นผู้บริหารจำนวน 4 คน ครูผู้สอนจำนวน 50 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนักศึกษา และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ สรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัย
การอาชีพสังขะ พบว่า ผู้บริหารและครูมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ พบว่า ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ พบว่า ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ ปรากฏผล ดังนี้
4.1 ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมวดวิชาพื้นฐานประยุกต์และหมวดวิชาชีพของนักเรียนนักศึกษา พบว่า นักเรียนนักศึกษาทุกสาขาวิชามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2563
4.2 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 พบว่า ผลการประเมินอยู่ใน ระดับยอดเยี่ยม ทั้ง 3 มาตรฐาน เรียงตามลำดับดังนี้มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และมาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกมาตรฐาน ตามลำดับ
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ พบว่า ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ