ชื่อเรื่อง โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R. โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายอุศมาน หลีสันมะหมัด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ามะปราง
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 และชั้น ม.1-ม.3 ทุกคน จำนวน 130 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 และชั้น ม.1-ม.3จำนวน 130 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และครู จำนวน 19 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า (Ratting Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .93-.98 และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาพแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.73, S.D. = .09) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.52, S.D. = .25) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการก่อนการดำเนิน ตามความคิดเห็นของครู พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.41, S.D. =.11) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงเท่ากัน 2 ด้านได้แก่ ด้านความเพียงพอของงบประมาณ และด้านความพร้อมด้านบุคลากร (x̄ = 4.58, S.D. = .21,.29) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสม การบริหารจัดการ (x̄ =4.50, S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ =4.08, S.D =.21) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄=4.53, S.D.= .11) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.49, S.D.= .11) ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ =4.48, S.D.= .10) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ระดับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.50, S.D. = .43) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.49, S.D. = .49) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.48, S.D. = .49) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.47, S.D. = .08) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.45, S.D. = .09) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 94.27 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 100 รองลงมา ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีวินัย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.92 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์จิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 85.12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจในโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.56, S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครู (x̄ = 4.54, S.D. = .27) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครอง (x̄ = 4.49, S.D. = .16) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
 
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของการประเมินผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง โดยใช้กิจกรรม C.P.S.R พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก สะท้อนให้เห็นว่า กิจกรรม C.P.S.R ได้แก่ C : Communication P : Participation S : Supervision R : Reinforcement สามารถพัฒนาให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น โรงเรียนต่าง ๆ ควรนำกรอบกิจกรรมตามแนวทางของ C.P.S.R ข้างต้นไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงเรียน
1.2 โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน อีกทั้งมีการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย
2.3 ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)