โดย นาย เอกบรรจง บุญผ่อง
โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์"
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโรงเรียนบ้านบึง อุตสาหกรรมนุเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด 2) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด 3) ประเมินการปฏิบัติงานด้านกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด 4) ประเมินผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด 5) ประเมินผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด และ 6) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด โรงเรียนบ้านบึง อุตสาหกรรมนุเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มเป้าหมายของการประเมินโครงการครั้งนี้แบ่งเป็นสองส่วนคือข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ รองผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมยุวกาชาด และ ผู้ปกครองนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมยุวกาชาด โรงเรียนบ้านบึง อุตสาหกรรมนุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 502 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณะกรรมการสถานศึกษา รองผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด และผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์จำนวน 1 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ประเมินเก็บรวบรวบด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมิน พบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการ ทั้งหมดมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกิจกรรมของโครงการช่วยให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ และระดับมาก 13 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการจัดบรรยากาศมีความเหมาะสมเอื้อต่อการจัดกิจกรรม รองลงมาคือ สถานที่มีความพร้อมในการทำกิจกรรมตามโครงการ และวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในโครงการมีจำนวนเพียงพอส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือผู้มีส่วนระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การ
ประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ และระดับมาก 20 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมีการนำสื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินโครงการ รองลงมาคือ กิจกรรมการส่งเสริมภาวะผู้นำมีความเหมาะสม และกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาดมีความเหมาะสม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและควบคุมการดำเนินงาน ตามโครงการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า
4.1 คุณลักษณะผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคืออยู่ในสังคมอย่างมีความสุข รองลงมาคือ ความพอเพียง และความมีวินัย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือความซื่อสัตย์สุจริต
4.2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ร่วมมือกันในการพัฒนานักเรียนให้ได้รับรางวัลในระดับต่างๆ รองลงมาคือ ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามที่โครงการกำหนดไว้ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการเป็นพี่เลี้ยง ฝึกฝน ยุวกาชาดรุ่นน้องในการทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือผู้บริหารโรงเรียนและครูมีการทำงานด้วยความเป็นทีม
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า
5.1 ผลการดำเนินงานด้านผลกระทบของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือนักเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันในระดับเขตพื้นที่จนถึงในระดับชาติเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนในโรงเรียน และครูผู้สอนมีทักษะในการถ่ายทอดการสอนผ่านกิจกรรมยุวกาชาดได้ดียิ่งขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือนักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมเพิ่มขึ้น
5.2 การจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด ของโรงเรียนบ้านบึง อุตสาหกรรมนุเคราะห์ส่งผลให้โรงเรียนสามารถได้รับรางวัลในระดับชาติประกอบด้วย
1) รางวัลโล่พระราชทาน ยุวกาชาดดีเด่นประเภทครูผู้สอนยุวกาชาดระดับ 4
2) รางวัลโล่พระราชทาน กิจกรรมประกวดการเดินสวนสนามของสมาชิกยุวกาชาดระดับ 4
3) รางวัลโล่พระราชทาน กิจกรรมประกวดการเดินสวนสนามของสมาชิกยุวกาชาดระดับ 3
4) รางวัลโล่พระราชทาน กิจกรรมประกวดการสร้างภาพโปสเตอร์เพื่อจัดนิทรรศการ ของสมาชิกยุวกาชาดระดับ 4 และ
5) รางวัลโล่พระราชทาน กิจกรรมแข่งขันปฐมพยาบาล ของสมาชิกยุวกาชาดระดับ 4
6. แนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด โรงเรียนบ้านบึง อุตสาหกรรมนุเคราะห์ พบว่า
ด้านบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูสร้างบทเรียน กิจกรรม ออนไลน์ โดยครูที่มีศักยภาพสามารถนำผลงานเผยแพร่ไปขึ้นเว็บไซต์แบ่งปันข้อมูลให้แก่ครูที่ไม่มีความพร้อมหรือโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมตลอดจนนักเรียนในสถานศึกษาต่างๆ ที่สามารถพัฒนาตนเอกจากการศึกษาออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เป็นการเปิดโลกกว้างทางการศึกษา ในปีการศึกษาต่อๆ ไปควรมีการปรับปรุงโครงการให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมในขณะนั้นและตรงกับความต้องการของผู้เรียน เนื่องจากสภาพสังคมและโลกมีการผันผวนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ชีวิต ตลอดจนสภาพสิ่งแวดล้อม
ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด โรงเรียน
ควรที่จะเห็นความสำคัญของแผนการดำเนินงาน กิจกรรม และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนด้านงบประมาณซึ่งโรงเรียนควรขอรับการส่งเสริมงบประมาณจากหน่วยงานภายนอกเพิ่มเติมเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เทศบาลเมืองบ้านบึง เพื่อที่จะสามารถดำเนินการโครงการได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ด้านกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด
โรงเรียนควรที่จะเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการนิเทศ กำกับ ติดตามและควบคุมการดำเนินงานตามโครงการอย่างเป็นระบบ เพื่อที่ทางสถานศึกษาจะได้ทราบว่ามีส่วนใดต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนาต่อไปในปีการศึกษาหน้า ในส่วนของการประชุม การให้ความรู้ ชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการสถานศึกษาควรมีปฏิทินที่ชัดเจนเพื่อจัดประชุม ทบทวนความรู้ การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานอย่างชัดเจน จะทำให้การดำเนินกิจกรรมมีประสิทธิภาพและเกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กร และควรมีการส่งเสริมให้ครูสร้างสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมยุวกาชาด รวมทั้งอาจจะมีการให้แรงจูงใจในการประกวด ให้รางวัล ให้เกียรติบัตร พร้อมทั้งคัดเลือกเป็นต้นแบบของสถานศึกษาอีกด้วย
ด้านผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด ใน
อนาคตโรงเรียนจะต้องเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนในด้านความเป็นพลเมืองดิจิตอลเพิ่มเติมอีกด้วย เพราะในอนาคตดิจิตอลจะมีผลกระทบต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และโรงเรียนควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่ดีทุกวัน เช่น กิจกรรมธนาคารความดี กิจกรรมวันนี้คุณทำความดีแล้วหรือยัง กิจกรรมชวนเพื่อนทำความดี โดยเน้นให้นักเรียนที่เรียนกิจกรรมยุวกาชาดได้เป็นผู้นำในแต่ละกิจกรรม และส่งเสริมให้นักเรียนที่เป็นยุวกาชาดได้นำเสนอผลงานหน้าเสาธงสัปดาห์ละ 1-2 ครัง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมและเป็นการประชาสัมพันธ์ผลของการดำเนินกิจกรรมอีกด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และอีกส่วนที่สำคัญคือการให้แนวทางการทำกิจกรรมกับผู้ปกครองนักเรียนที่จะสามารถส่งเสริมผู้เรียนที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและโรงเรียนอีกด้วย
ด้านผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด
โรงเรียนควรพัฒนาโครงการนี้อย่างต่อเนื่องตลอดจนกิจกรรมที่ทันต่อบริบทของสังคมหรือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกๆ ด้าน โดยมีการพัฒนาทั้งครูผู้สอนและนักเรียนให้ครบทุกด้านควบคู่กันไปด้วย เพื่อจะได้พัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสามารถอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถเป็นพลโลกได้อย่างสมบูรณ์
ข้อเสนอแนะ
จากการประเมิน มีประเด็นที่สำคัญที่ผู้ประเมินขอเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1.นำผลการประเมินโครงการที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง แก้ไขในการดำเนินงานโครงการในกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ค้นพบ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่โรงเรียนสามารถทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไป
2.โรงเรียนควรนำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จมาจัดกิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต
3. ควรขยายโครงการให้ครอบคลุมนักเรียนทุกคนในโรงเรียน และสามารถขยายไปสู่ชุมชนหรือท้องถิ่นของนักเรียนแต่ละคน
4. ควรประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบอื่น เช่น รูปแบบการประเมินของโรบอรต อี สเตค (Robert E. Stake) เป็นต้น เพื่อสรุปผลการประเมินอย่างละเอียดและนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นไป
5. ควรศึกษาเปรียบเทียบโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้รูปแบบการประเมินประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีมและคณะจำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การสอนว่าแตกต่างกันอย่างไร
6. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมยุวกาชาด โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model โดยประเมินองค์ประกอบย่อยของผลผลิต 3 ข้อเพิ่มเติม ได้แก่ การประเมินประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) การประเมินความยั่งยืนของโครงการ(Sustainability Evaluation) และการประเมินการขยายผล(Transportability Evaluation)