ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์"
โดย เอกบรรจง บุญผ่อง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. วิเคราะห์สภาพการบริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2. พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" และ 3. เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์"
กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรครูที่สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด ชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา แบ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 12 คน และสนทนากลุ่มจำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยการบริหารงานทั่วไป มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นการบริหารวิชาการ การบริหารบุคลากร และการบริหารงบประมาณ ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ และระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยี และการจัดการ 2. กระบวนการ ได้แก่ 2.1 การบริหารวิชาการ มี 7 ด้าน ดังนี้ ด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านสื่อ นวัตกรรมการศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ ด้านการวิจัย ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการแนะแนว 2.2 การบริหารบุคลากร มี 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการวางแผนงาน ด้านเตรียมความพร้อมให้กับครู ด้านการสนับสนุนและพัฒนา และด้านขวัญและกำลังใจ 2.3 การบริหารงบประมาณ มี 4 ด้าน คือ การวางแผนงบประมาณ การขออนุมัติงบประมาณ การบริหารการใช้งบประมาณ การประเมินผลการใช้งบประมาณ 2.4) การบริหารงานทั่วไป มี 4 ด้าน ดังนี้ การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตและเทคโนโลยี การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น 3. ผลิตผล ได้แก่ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ
3. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ด้านประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ด้านละ 150 รายการ พบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกรายการ โดยจำนวนรายการที่มีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านประโยชน์ มีจำนวน 70 ข้อ ด้านความเป็นไปได้ จำนวน 33 ข้อ ด้านความเหมาะสม มีจำนวน 48 ข้อ และด้านความถูกต้อง มีจำนวน 32 ข้อ นอกจากนั้นผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผู้เชี่ยวชาญและผู้ร่วมวิจัยมีความเห็นว่ารูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับสถานการณ์จริง มีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษา เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้
คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบ, การบริหารสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน, เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก
ABSTRACT
TITLE DEVELOPMENT OF A MODEL OF EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATION BY USING THE AREA BASED MANAGEMENT TO SUPPORT THE EASTERN ECONOMIC CORRIDOR DEVELOPMENT AREA: BANBUNG UTTASAHAKAMNUKHRO SCHOOL
BY EAKBANCHONG BOONPONG
The purpose of this research is to develop a model of educational institution administration by using the Area Based Management to support the Eastern Economic Corridor Development Area (EEC). The samples were teachers who teach in secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in Chonburi, Rayong and Chachoengsao provinces. The samples were divided into 400 respondents, obtained by stratified random sampling, 12 interviewees and 20 focus group discussions paticipants were obtained by purposive sampling. The research instruments were questionnaire on educational institution administration in the Eastern Economic Corridor Development Area with 5-level of rating scale, interview and focus group discussion forms. The data were analyzed using mean, standard deviation and analyze the data obtained from interviews and focus group discussions by content analysis.
The research results
1. Educational institution administration conditions in the Eastern Economic Corridor Development Area, the overall is at good level. Considering each aspect, it was found that, General administration have the highest average followed by Academic administration, Personnel administration and Budget administration, respectively.
2. Educational institution administration model by using the Area Based Management: Banbueng Uttasahakamnukhro School consists of 3 components: 1. The inputs are personnel, budgets, materials and management. 2. Processes that were divided to 2.1) Academic administration consists of 7 aspects as follows: Educational curriculum development, Learning management, Measurement and evaluation, Media educational innovations and learning resources, Research, Education supervision and Guidance. 2.2) Personnel administration, there are 4 aspects as follows: Planning, Preparation for teachers, Support and development, Morale. 2.3) Budget administration has 4 aspects: Budget planning, Approval of the budget, Budget management, Assessment of budget utilization 2.4) General administration has 4 aspects as follows: Development of information and communication technology system, Development of Internet network systems , Maintenance of the building and the environment, Cooperation with the community and other organization. And 3. Product consists of 3 aspects as follows:: Output, Outcome and Impact.
3. The results of the evaluation of the effectiveness of the model, the Utility, Feasibility, Appropriate and Accuracy standards of 150 items. It was found that the assessment results were at high and the highest level for all items. The number of items assessed at the highest level were as follows: 70 items for Utility, 33 items for Feasibility, 48 items for Appropriate and 32 items for Accuracy. Experts and research participants commented that the model developed by the researcher is consistent with the actual situation, appropriate and useful for the administration of educational institutions to support the Eastern Economic Corridor Development Area.
KEYWORDS: Development of model, The educational institution administration by using the Area Based Management, The Eastern Economic Corridor Development Area