ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี
เรื่อง แก๊ส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางปิยพร ณ ลำปาง
สถานศึกษา โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน (CPBL) เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี เรื่อง แก๊ส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) จำนวน 3 วงรอบ โดยวงรอบที่1: R1 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างของครู คือครูผู้สอนเคมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 65 คน กลุ่มตัวอย่างของนักเรียนคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยได้รับประสบการณ์การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 132 คน วงรอบที่ 2 : R2 การวิจัยเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกึ่งทดลอง โดยในปีการศึกษา 1/2563 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)จากห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียนมา 2 ห้องเรียน โดยให้ห้องที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 จำนวน 29 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 จำนวน 33 คน วงรอบที่ 3: R3 การวิจัยเพื่อศึกษาการใช้ซ้ำการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน โดยในปีการศึกษา 1/2564 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)จากห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียนมา 2 ห้องเรียน โดยให้ห้องที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.3 จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหา
เชิงสร้างสรรค์เป็นฐานทั้งสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการโดยภาพรวมครูมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบปัญหาเชิง
สร้างสรรค์เป็นฐานด้านสภาพปัจจุบันมีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัญหาและความตัองการมีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน (CPBL) เรื่อง แก๊ส สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มทดลองให้สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการปรกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประสิทธิภาพ E1/E2 ของการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อ
พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80.00/80.00
5. เมื่อใช้ซ้ำการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน(CPBL) เรื่อง แก๊ส สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มทดลองให้สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการปรกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. เมื่อใช้ซ้ำการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง แก๊สสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 ของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80.00/80.00
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน (CPBL) เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นส่งผลทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น