ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus
บนฐานความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิด
สร้างสรรค์ ทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรม และทักษะอภิปัญญา เรื่อง กรด-เบส สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางปิยพร ณ ลำปาง
สถานศึกษา โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรมและทักษะอภิปัญญาเรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) จำนวน 3 วงรอบ โดยวงรอบที่1: R1 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างของครู คือครูผู้สอนเคมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย จำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างของนักเรียนคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยได้รับประสบการณ์การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา จำนวน 123 คน วงรอบที่ 2 : R2 การวิจัยเพื่อใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกึ่งทดลอง โดยในปีการศึกษา 2/2563 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)จากห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียนมา 2 ห้องเรียน โดยให้ห้องที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 จำนวน 29 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 จำนวน 33 คน วงรอบที่ 3: R3 เป็นการวิจัยเพื่อใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส โดยในปีการศึกษา 2/2564 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)จากห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียนมา 2 ห้องเรียน โดยให้ห้องที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จัดการเรียนรู้แบบปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.3 จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ด้านสภาพปัจจุบันปัญหาโดยภาพรวมครูมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัญหา โดยภาพรวมครูมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านความต้องการครูมีระดับความคิดเห็น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ด้านสภาพปัจจุบันนักเรียนมีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัญหาโดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านความต้องการโดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
บูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ปรากฏในเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า ด้านสภาพปัจจุบัน เมื่อวิเคราะห์เอกสารแล้วพบว่า ลำดับที่ 1 การจัดการศึกษาเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีความถี่มากที่สุด ด้านสภาพปัญหา เมื่อวิเคราะห์เอกสารแล้วพบว่า ลำดับที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีความถี่มากที่สุด ด้านสภาพความต้องการ เมื่อวิเคราะห์เอกสารแล้วพบว่า รูปแบบการพัฒนา TPACK ในการสอนวิทยาศาสตร์มีความถี่มากที่สุด เทคนิค KWDL เป็นเทคนิคที่ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและแก้ปัญหาโจทย์ได้ และ ต้องการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา
3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้
ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลในในการเรียนรู้ Inspiration ขั้นที่ 2 สำรวจตรวจสอบและค้นหา Exploration ขั้นที่ 3 ชี้แจง อธิบาย ขยายความรู้ Explanation ขั้นที่ 4 เชื่อมโยงความรู้ Elaboration ขั้นที่ 5 การประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ Evaluation ขั้นที่ 6 สรุปความรู้และสะท้อนคิดอภิปัญญา Metacognition
4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความ
รู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดออกแบบเชิงวิศวกรรม และทักษะอภิปัญญา ของกลุ่มทดลองให้ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีปรกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
5. ประสิทธิภาพ E1/E2 ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดออกแบบเชิงวิศวกรรม และ ทักษะอภิปัญญา เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 บนฐานความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80.00/80.00
6. เมื่อใช้ซ้ำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีปรกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
7. เมื่อใช้ซ้ำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธ์ทางการเรียน คะแนนการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดออกแบบเชิงวิศวกรรมและทักษะอภิปัญญา สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีปรกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
8. เมื่อใช้ซ้ำ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการเทคนิค KWDL-Plus บนฐานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ของกลุ่มทดลอง มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80.00/80.00