รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุโขทัย มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องของสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้าน 4.1) การใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม.2) การพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม เพียงพอ สะอาด ร่มรื่นปลอดภัยและเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการเรียนรู้ของนักเรียนและการปฏิบัติงานของบุคลากร 4.3) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนทั้งในและเสริมหลักสูตรโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียนและ 4.4) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้จำนวน 679 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของ Yamane (อ้างถึงใน สมพล ทุ่งหว้า. 2559 : 97-99) ความเชื่อมั่น 95% ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 63 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 300 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนบ้านด่านลานหอยจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยาโดยภาพรวม มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.33, S.D.=0.54)
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยาโดยภาพรวมมีระดับความเหมาสะมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.44, S.D.=0.38)
ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยาโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.26, S.D.=0.29)
ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการมีผลการประเมินดังนี้
ด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้โดยภาพรวมมีระดับผลความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.53, S.D.=0.35)
ด้านการพัฒนาอาคารสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้โดยภาพรวมมีระดับผลความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.67, S.D.=0.30)
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนทั้งในและเสริมหลักสูตรโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียนโดยภาพรวมมีระดับผลความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.64, S.D.=0.28)
ด้านความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยาโดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.65, S.D.=0.29)