นวัตกรรมปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
การบริหารการศึกษาโดยใช้ TOETANG MODEL
โดย
นายธีระพันธ์ เพ็ชรคีรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต่อตั้ง
การบริหารการศึกษาเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่ การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)
สถานศึกษา เป็นสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
สถานศึกษาเป็นหน่วยงานทางการศึกษาระดับปฏิบัติการที่สำคัญที่สุด มีสิทธิหน้าที่หรืออำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และขอบเขตวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่กำหนดไว้ในกฎหมาย คือ เป็นส่วนราชการที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม และ วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เช่นเดียวกับสถานศึกษาไม่เป็นนิติบุคคล ส่วนอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นในฐานะนิติบุคคลกำหนดไว้ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลมีอำนาจในการปกครองดูแลบำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จาก ทรัพย์สินของสถานศึกษาที่เป็นราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุและที่เป็นทรัพย์สินอื่นรวมทั้งจัดหารายได้จากการบริหารสถานศึกษาและเก็บค่าธรรมเนียมสถานศึกษาที่ไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายวัตถุประสงค์และภารกิจของสถานศึกษา ดังนั้นผลของการจัดการศึกษาจะเป็น เช่นใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับการบริหารงานของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษามีขอบเขตภารกิจในการ บริหารและจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลไว้ 4 ด้าน ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านบริหารทั่วไป
โรงเรียนบ้านต่อตั้งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต ๒ ตั้งอยู่บ้านต่อตั้ง หมู่ ๑ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร สภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการเป็นชุมชนเกษตรกรรม ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างและอื่นๆ ในรอบปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้รับรางวัลในด้านต่างๆซึ่งเกิดจากการบริหารงานจากผู้อำนวยการโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชนในทุกๆ ด้าน ทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาสภาพแวดล้อม และการสนับสนุนงบประมาณ เพราะในชุมชนมีทรัพยากรต่างๆ ที่พร้อมจะให้การสนับสนุนตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนจึงใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ภาคีเครือข่าย ด้วยการระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาคส่วนด้านประชาชน หน่วยงาน และองค์กรภายในชุมชน ตลอดจนสถาบันการจัดการศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา อันจะส่งผลให้โรงเรียนจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
โรงเรียนบ้านต่อตั้งได้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานตาม TOETANG MODEL
๑) เพื่อดึงศักยภาพที่มีในชุมชมเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาที่ตรงตามความ
ต้องการของท้องถิ่น
๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานการศึกษา
แห่งชาติ
๓) เพื่อสร้างเกราะคุ้มกันความปลอดภัยด้านอาคารสถานที่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
๔) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและได้ประสบการณ์ตรงอัน
จะส่งผลต่อการคุณภาพการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านต่อตั้ง จำนวน ๕๐ คน
เชิงคุณภาพ
โรงเรียนบ้านต่อตั้งได้รับการพัฒนา ด้านอาคารสถานที่ให้ความมั่นคงปลอดภัยและสวยงาม ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสามารถปฏิบัติงานได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง นักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีระเบียบวินัย มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน ชุมชนมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจนำบุตรหลานเข้ามาเรียนทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น และให้ความร่วมมือตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา
การดำเนินงานการบริหารการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านต่อตั้ง โดยใช้ TOETANG MODEL
ประกอบด้วยคำสำคัญดังนี้
TOETANG MODEL ประกอบด้วยคำสำคัญดังนี้
T Teamwork (ความร่วมมือ)
O Organization (การจัดองค์กร)
E Evaluation (การประเมินผล)
T Technology (เทคโนโลยี)
A Analysis (การวิเคราะห์)
N Network (เครือข่าย)
G Goal (เป้าหมาย)
โรงเรียนบ้านต่อตั้ง มีการทำงานเป็นทีมที่คนจำนวน 2 คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ที่จะทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ จึงมาร่วมมือกันทำงาน โดยที่หน้าที่หรือลักษณะงานของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เพียงแต่มีความเกี่ยวเนื่องกันในทางใดทางหนึ่ง สนับสนุนเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน แต่ละงานคือชิ้นส่วนที่เป็นจิ๊กซอว์เติมเต็มให้แก่งานชิ้นเดียวกัน เมื่องานของแต่ละคนสำเร็จลง ก็หมายถึงงานที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้แต่ต้นสำเร็จสมบูรณ์ มีข้อเด่นชัดดังนี้
1. คนทำงานทุกคนรู้ชัดถึงเป้าหมายและมีอุดมการณ์เดียวกันในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
2. ทุกคนในทีมมีความสามารถตรงกับงานที่ได้รับผิดชอบ มีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบในงานของตัวเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
3. ทุกคนมีหัวใจเดียวกัน พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อสนับสนุนกันและกันเพื่อเป้าหมายเมื่อจำเป็น
4. แม้แบ่งงาน แต่ไม่แบ่งฝ่าย ยังถือว่างานของทุกคนคืองานของตัวเอง ดังนั้น หากงานของตัวเองเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนงานของคนอื่น ต้องไม่ทำตัวให้เป็นอุปสรรคต่องานต่อไป
5. สามารถทำงานใหญ่ๆ ให้สำเร็จได้
6. ทำให้งานทุกงานสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะแบ่งงานตามความถนัดจึงทำได้ดี
7. ทุกคนมีไฟในการทำงานของตัวเอง แต่เป็นไฟที่ส่งต่อให้คนรอบข้าง จึงเป็นงานที่มีความสนุกและท้าทาย
8. มีมิตรภาพและกำลังใจระหว่างงาน
9. ได้สร้างสรรค์และพัฒนางานให้ก้าวหน้าขึ้น เพราะมีการระดมความคิด ไอเดีย จากทีมเวิร์ค
10. มีพลังในการขับเคลื่อนงานไปข้างหน้ามากกว่างานที่ทำคนเดียว
11. ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจเมื่องานชิ้นใหญ่สำเร็จ และทำให้มีเวลาเหลือที่จะทำงานชิ้นต่อไป
12. ทำให้กล้าที่จะคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ งานใหญ่ๆ งานยากๆ เพราะเชื่อมั่นว่ามีทีมเวิร์คดี จะช่วยกันผลักดันงานให้สำเร็จได้ต่อๆ ไปมนุษย์มีศักยภาพในตัวเองมากกว่าที่คิด แต่บางครั้งจำเป็นต้องมีกำลังใจจากคนรอบข้างให้การสนับสนุนให้นำศักยภาพออกมาใช้ ซึ่งงานเป็นทีมนี่เองจะดึงส่วนพิเศษนั้นออกมา การทำงานที่มีทีมเวิร์คดีจึงสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นเสมอ
การจัดการองค์กร
การบริหารจัดการองค์กร คือหัวใจ และความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจ ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร การจัดการองค์กร เป็นทักษะในการบริหารงานภายในโดยแต่ละบริษัทหรือแต่ละองค์กรก็จะมีทฤษฎีการบริหารระบบการจัดองค์กรธุรกิจที่แตกต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วย การจัดการระบบองค์กร การปลูกฝังแนวคิด การวางแผน เพื่อการไปสู่เป้าหมายขององค์กรพร้อมกัน
การจัดการองค์กร หมายถึงอะไร
การจัดการองค์กร หมายถึง Organizing หรือ กระบวนการการบริหารกลุ่มบุคคลที่อยู่ในองค์กร หรือธุรกิจเดียวกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากบริษัทไหนมี ระบบการจัดการองค์กร ที่ดีก็จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ด้วยกัน ซึ่งการจัดการองค์กรประกอบด้วยกระบวนการการวางแผน การจัดสรรบุคลากร การสร้างผู้นำ การสั่งการ และการควบคุมองค์กรให้อยู่ในมาตรฐานโดยกระบวนการทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้นั่นเอง
วิธีการบริหารจัดการองค์กรที่ดี
แน่นอนว่า วิธีการบริหารจัดการองค์กรหนึ่ง ๆ ต้องประกอบไปด้วยหลากหลายด้าน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจ 3 วิธีคิดที่จะจัดการองค์กรให้ดีได้ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน เพื่อการเป็นองค์กรสมัยใหม่ที่ดีที่สุด
1. การจัดการความหลากหลายภายในองค์กร
การจัดการความหลากหลายภายในองค์กรหรือ Diversity Management ถือเป็นหนึ่งความท้าทายในองค์กร เพราะคุณลักษณะของการเป็นองค์กรคือ การทำงานร่วมกัน การบริหารความหลากหลายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้องค์กรสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งได้
โดยผู้นำองค์กรสมัยใหม่ควรมีวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ชัดเจน สื่อสารสาระสำคัญและวัตถุประสงค์ขององค์กรออกไปได้อย่างแข็งแกร่ง เพื่อชี้นำเป้าหมายขององค์กรได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ภายใต้สภาวะที่หลากหลายของบุคลากร อันได้แก่ อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ทักษะ ทัศนคติ ประสบการณ์ ความคิด ความชอบ ความสนใจ ในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าใจ และสนับสนุนบุคลากรทุกระดับในการขับเคลื่อนความหลากหลายมาสร้างโอกาสเพื่อเชื่อมโยงกับการทำงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร
2. นำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อจัดการธุรกิจ
อย่างที่กล่าวไปว่า ปัจจุบันองค์กรสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้อิสระกับการทำงานของบุคลากรมากขึ้น มากกว่าการจำกัดพื้นที่และสถานที่ในการทำงาน เพราะปัจจุบันการวัดความสามารถของพนักงานขึ้นอยู่กับผลงานมากกว่า
การนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อ การจัดการธุรกิจภายในองค์กร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะระบบสารสนเทศจะช่วยให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำงานร่วมกันได้จากทุก ๆ ที่ในโลก ซึ่งการสื่อสารถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจของการทำงานร่วมกัน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการสื่อสารให้รวดเร็วและ Real time มากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าปัจจุบันองค์กรจำนวนมากกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะตัวเองให้เป็นดิจิตัลเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น
3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การจัดการองค์กรสมัยใหม่จะช่วยสนับสนุน และส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น มีการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับทุกคนในองค์กรอย่างเท่าเทียม และยังสร้างความรัก และความศรัทธาภายในองค์กรทักษะ การจัดการองค์กร ถือเป็นหัวใจที่สำคัญในการบริหาร เพื่อสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและองค์กรที่แข็งแกร่ง และสร้างความได้เปรียบให้กับกิจการได้ในระยะยาว เมื่อผู้ประกอบการได้อ่านบทความเรื่องนี้แล้ว Moneywecan ก็หวังว่าเพื่อน ๆ จะนำไปประยุกต์ และปรับใช้ภายในองค์กร
การประเมินผล หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผลของการดำเนินงาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่าได้ผลตามที่กำหนดไว้เพียงใด มีบทบาทความสำคัญในการให้ข้อมูลด้านความคืบหน้า ชี้ปัญหา และข้อขัดข้องด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการหรือการบริหารโครงการ บทบาทที่กล่าวนี้จะให้ประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารได้ดีหากได้รับการสนับสนุนให้มีระบบการติดตามและประเมินผลขึ้นในองค์กรเพราะการประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านการจัดการ
เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินที่ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ เล็กลง ทุกขณะ
ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย
เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว
- ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น
- ช่วยให้เราทันสมัย
- ช่วยประหยัดเวลา
- ช่วยในการทำงาน
บทบาทหน้าที่ของเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
การวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้
วิธีคิดเชิงวิเคราะห์
1. กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่เราจะวิเคราะห์ให้ชัดเจน
2. กำหนดจุดมุ่งหมายว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร
3. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่าจะใช้หลักใดในการวิเคราะห์
4. ใช้หลักความรู้นั้นให้ตรงกับเรื่องที่จะวิเคราะห์เป็นกรณีๆไปและต้องรู้ว่าควรจะวิเคราะห์อย่างไร
5. สรุปและรายงานผลให้เป็นระเบียบ
เครือข่าย หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคล หรือ องค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการการเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจ ที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน
เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่เราตั้งใจสิ่งที่เราต้องการจะทำ ด้วยความแน่วแน่ที่จะทำให้ได้ ซึ่งมันจะเป็นมากกว่าความฝัน ซึ่งเป้าหมายนั้นเป็นความต้องการระดับ Need ซึ่งเป็นความต้องการในระดับที่ ถ้าเราไม่ได้มีไม่ได้เป็นมันจะทำให้เรารู้สึกว่าเรากำลังขาดอะไรบางอย่างและก่อให้เกิดการลงมือทำเพื่อให้ได้มาเพื่อสิ่งนั้น เช่นเดียวกับที่มนุษย์จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าปราศจากอากาศความสำเร็จก็เช่นกันมันจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราปราศจากเป้าหมาย การมีเป้าหมายก่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะคอยเป็นพลังที่คอยกระตุ้นให้เราบุกบันฝ่าฟันเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการผู้ที่มีความปรารถนาความสำเร็จในชีวิต
การดำเนินงานนวัตกรรมการบริหารการศึกษาของโรงเรียนบ้านต่อตั้ง โดยใช้รูปแบบวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ด้วยนวัตกรรม TOETANG MODEL นั้น ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA หรือ Deming Cycle เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดาเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้น คือ Plan (วางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การปรับปรุง)
จากการดำเนินงานตามนวัตกรรมการบริหารการศึกษาโดยใช้ TOETANG MODEL มาประกอบในการบริหารปรากฏผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งในงานที่ปฏิบัติและเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับการยกย่องทำให้เกิดผลการดำเนินงานคือ ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน ทำให้แก้ปัญหาและพัฒนางานให้กับความต้องการและสภาพจริงของโรงเรียนได้ ครูที่ได้รับการนิเทศ ติดตามมีความเข้าใจในเรื่องต่างๆ จนเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน รู้บทบาทหน้าที่ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ สถานศึกษาได้รับการยกย่องชมเชย จนเกิดเป็นขวัญกำลังใจในการทำงาน เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยมีหลักการดังนี้
๑. การประสานงาน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้นำชุมชน มีการมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติด้วยความสามัคคี สมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตรงกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์กร
๒. ความร่วมมือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้นำชุมชน มี ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง ตามเป้าหมายขององค์การหรือหน่วยงาน ความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะทำเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ได้ แม้กระทั่งอาจให้ความร่วมมือทำบางเรื่องบางเวลา
๓. การทำงานร่วมกัน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้นำ มาทำงานร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม และรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในองค์กร รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัติงาน ต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้น
๔. การมีส่วนร่วม ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้นำชุมชน ทุกคนของหน่วยงานหรือองค์กร ร่วมกันดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีลักษณะของกระบวนการ (Process)มีขั้นตอนที่มุ่งหมายจะให้เกิดการเรียนรู้(Learning) อย่างต่อเนื่อง
โดยมีกระบวนการดำเนินงานดังต่อไปนี้
๑) จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง องค์กรต่าง ๆ และบุคลากรภายในโรงเรียน เพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการจัดทำนวัตกรรมรูปแบบการจัดการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ภาคีเครือข่าย ตลอดจนร่วมเสนอแนวทางในกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
๒) แต่งตั้งคณะทำงานและจัดให้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและเตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆ
๓) ประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ จดหมายข่าวถึงผู้ปกครอง หนังสือเชิญหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
๔.๑ นักเรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความกระตือรือร้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
๔.๒ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ ช้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
๔.๓ ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาและให้การสนับสนุนทรัพยากร
๔.๔ โรงเรียนได้รับรางวัลระดับต่าง ๆ ทั้งด้านผู้บริหาร ครู และนักเรียน
1. ครูทุกคนเปิดใจและพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดอย่างอิสระ และรู้จักหาวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการทำโครงงานและกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ด้วยมีแนวคิดตามที่กล่าวไว้ว่าด้วยการจัดการศึกษาไว้ว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่านักเรียนมีความสำคัญที่สุด ซึ่งกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
2. ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งสนับสนุนในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้
3. นักเรียนปฏิบัติหน้าที่ตามความสามารถของตนได้เต็มที่ มีแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ และมีความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามธรรมชาติและราบรื่นต่อไป
4. มีการติดตาม ประเมินผล วิเคราะห์และอภิปรายผล การนำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ มาวิเคราะห์และอภิปราย ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป เมื่อได้วิเคราะห์และอภิปรายผลของการปฏิบัติแล้ว นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้มีแนวคิดกว้างขวางขึ้น
5. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี
๖. ความรับผิดชอบร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน
๗. การสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียน
๘. การให้ความร่วมมือของครูในโรงเรียน
๙. การมีเป้าหมายของการทำงานที่ชัดเจน
๑๐. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน ปฏิบัติงานครอบคลุมตามบริบทของโรงเรียน
๖.๑ โรงเรียนได้รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา
๖.๒ ครูได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน
๖.๓ นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและนำมาบูรณาการสู่การพัฒนาการเรียนรู้ได้เต็ม
ตามศักยภาพของตนเอง
๖.๔ โรงเรียนรูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
๖.๕ โรงเรียนสามารถจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนมาบูรณาการ
จัดการเรียนรู้เข้ากับกลุ่มสาระต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๖ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความเข้าใจและมีทิศทางการพัฒนาคุณภาพ
ของงานไปในแนวเดียวกัน
โรงเรียนบ้านต่อตั้ง ได้เผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ได้แก่
๑. จัดทำเอกสาร แผ่นพับ นำเสนอการดำเนินงาน ผลงาน เพื่อบริการแก่ผู้ที่สนใจนำไปศึกษา
และปรับใช้
๒. ทาง Website โรงเรียนบ้านต่อตั้ง
๓. Line Officail