ผลงานทางวิชาการเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผู้รายงาน นางสาวณัฐวดี ฝอยศาลา
ปีที่ศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผู้รายงานนำเสนอข้อมูล ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.1 เพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
ของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
1.2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนหลังดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
1.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
2. วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
2.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวน 1,563 คน จำแนกเป็น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครู จำนวน 36 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 728 คน และนักเรียน จำนวน 784 คน
2.1.1 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 553 คน ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จะได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และครู จำนวน 36 คน รวมจำนวน 51 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan,1970, หน้า 607 - 610) ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 248 คน และนักเรียน จำนวน 254 คน รวมจำนวน 502 คน
2.2 ขอบเขตของเนื้อหา
การรายงานประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
ของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ครั้งนี้ เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, D. L., 1977, p.45) ซึ่งประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
2.3 ระยะเวลาการประเมินโครงการ
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 คือ วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2565
2.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นตัวเลขมาตราส่วนประมาณค่า (Numerical Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 5 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยนำเข้า ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู
ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในด้านกระบวนการ ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในด้านผลผลิต ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
ฉบับที่ 4 แบบสอบถามการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในด้านพฤติกรรมของนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครองนักเรียน
2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) ผู้รายงานได้ดำเนินการ ดังนี้
2.5.1 ทำหนังสือเชิญคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครองนักเรียน
เข้าร่วมประชุมเพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ตามแบบสอบถาม
ที่กำหนด
2.5.2 ขอความร่วมมือครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ให้ช่วยแจกแบบสอบถามให้กับนักเรียน เพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ตามแบบสอบถามที่กำหนด โดยขอความอนุเคราะห์ให้ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ช่วยอ่านแบบสอบถามให้นักเรียนฟัง เพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะนักเรียนบางคนอาจไม่เข้าใจข้อคำถาม
2.5.3 ผู้รายงานแจกและเก็บแบบสอบถามที่ให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์กลับคืน คิดเป็นร้อยละ 100
2.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ครั้งนี้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3. สรุปผล
การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 สรุปผลการศึกษาที่สำคัญได้ดังนี้
3.1 การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.27 ) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านผลผลิต และด้านกระบวนการ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายด้าน สรุปเฉพาะรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นำเสนอ ดังนี้
3.1.1 ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ภาพรวมมีความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.74, S.D.= 0.36) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า มี 4 ข้อ คือ 1) โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่มุ่งเน้นให้สังคมไทย เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และรู้รักสามัคคี 2) โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเน้นให้คนไทยรู้จักความพอประมาณ มีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และมีคุณธรรม จริยธรรม 3) วัตถุประสงค์ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่น้อมนำกระแสพระราชดำรัส และสนองโครงการตามพระราชดำริที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาลงสู่ การปฏิบัติอย่างยั่งยืน และ 4) วัตถุประสงค์ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สอดคล้องกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในการเสริมสร้างให้ผู้บริหาร นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษา ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ตามลำดับ
3.1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมมีความพอเพียงหรือความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D.= 0.35) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่ามี 2 ข้อ คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ ตระหนัก และเห็นความสำคัญ ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา และ 2) ผู้บริหารโรงเรียนนำหลักธรรมาภิบาล มาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียน และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูศึกษา หาความรู้ และพัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรม เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม
3.1.3 ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.= 0.30) องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การตรวจสอบ รองลงมา คือ การปรับปรุงและแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตามแผน และการวางแผน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการสำรวจ วิเคราะห์ความต้องการ ด้านงบประมาณ บุคลากร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เมื่อพิจารณารายข้อในองค์ประกอบสรุปเฉพาะรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นำเสนอดังนี้
3.1.3.1 การวางแผน พบว่า ภาพรวม มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.32) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรม พิจารณางบประมาณ นิเทศ กำกับ และติดตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการสำรวจ วิเคราะห์ความต้องการ ด้านงบประมาณ บุคลากร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
3.1.3.2 การปฏิบัติตามแผน พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.33) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการดำเนินงานตามปฏิทิน ขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประสานเครือข่าย ชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง บุคคล หรือหน่วยงานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมดำเนินงาน
3.1.3.3 การตรวจสอบ พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D.= 0.29) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
3.1.3.4 การปรับปรุงและแก้ไขปัญหา พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.64, S.D.= 0.42) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่ามี 2 ข้อ คือ 1) มีการประชุมคณะทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน และหาแนวทางแก้ไขหลังจากดำเนินงาน และ 2) มีการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
3.1.4 ด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.27) องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา รองลงมา คือ นักเรียนพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และครูพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้าน การจัดการเรียนรู้ตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ลำดับแรก มี 8 ข้อ คือ 1) บริหารงานโรงเรียนด้วยความเป็นธรรม ตามระเบียบของทางราชการเพื่อปลูกฝังให้บุคลากร นักเรียนเคารพกฎระเบียบ และกฎหมาย 2) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมอบหมายให้บุคลากร ได้ทำงานตามความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ และตามเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) เสริมสร้างให้บุคลากรมีระเบียบ วินัย ลงโทษ ผู้ประพฤติผิดตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และจรรยาบรรณ 4) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อตกลง ที่ใช้ในการบริหารโรงเรียนมีความชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติ 5) บริหารงานโรงเรียน ในการจัดการเรียนการสอน เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และการใช้จ่ายด้วยความคุ้มค่าได้ประโยชน์สูงสุด 6) นักเรียนประพฤติ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา 7) นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ 8) นักเรียนปฏิบัติตนตามค่านิยม 12 ประการ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูนำสื่อจากท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียน เมื่อพิจารณารายข้อ ในองค์ประกอบ สรุปดังนี้
3.1.4.1 ผู้บริหารโรงเรียนนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารโรงเรียน พบว่า ภาพรวม มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.= 0.30) องค์ประกอบย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักนิติธรรม รองลงมา คือ หลักความโปร่งใส หลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม และหลักความรับผิดชอบ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายองค์ประกอบย่อย สรุปเฉพาะรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นำเสนอดังนี้
1) หลักนิติธรรม พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.87, S.D.= 0.23) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า มี 4 ข้อ คือ 1) บริหารงานโรงเรียนด้วยความเป็นธรรม ตามระเบียบของทางราชการ เพื่อปลูกฝังให้บุคลากร นักเรียนเคารพกฎระเบียบ และกฎหมาย 2) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมอบหมายให้บุคลากรได้ทำงานตามความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม เป็นไปตามระเบียบของทางราชการและตามเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) เสริมสร้างให้บุคลากรมีระเบียบ วินัย ลงโทษผู้ประพฤติผิดตามระเบียบแบบแผนของทางราชการและจรรยาบรรณ และ 4) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อตกลง ที่ใช้ในการบริหารโรงเรียนมีความชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของบุคลากรทุกฝ่ายให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามลำดับ
2) หลักคุณธรรม พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.79, S.D.= 0.39) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริหารงานอาคารสถานที่ให้มีความสะดวก ปลอดภัย สะอาด สวยงาม ร่มรื่น น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บริหารงานความสัมพันธ์ชุมชน โดยใช้หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
3) หลักความโปร่งใส พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.81, S.D.= 0.39) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า มี 3 ข้อ คือ 1) บริหารงานโรงเรียนเป็นไปด้วยความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ 2) เปิดโอกาส และเสริมสร้างให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และ 3) บริหารงานโรงเรียน โดยมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ผู้ปกครอง และชุมชนทราบอย่างต่อเนื่อง เปิดเผย ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด พบว่า มี 2 ข้อ คือ 1) บริหารงานการจัดซื้อจัดจ้าง และงบประมาณเป็นไปตามแผนที่กำหนดอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ และ 2) บริหารงานบุคลากรด้วยความโปร่งใสแสดงหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลงานของบุคลากรที่ชัดเจน
4) หลักการมีส่วนร่วม พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.68, S.D.= 0.35) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริหารงานบุคลากร โดยการมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานต่าง ๆ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายใน โดยมอบหมายให้มีผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุเป็นคณะทำงานร่วมกัน
5) หลักความรับผิดชอบ พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.39) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริหารงานธุรการและการเงิน โดยให้บุคลากรรับผิดชอบร่วมกัน และผู้บริหารติดตามการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอก เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานในโรงเรียน
6) หลักความคุ้มค่า พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.77, S.D.= 0.37) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริหารงานโรงเรียน ในการจัดการเรียนการสอน เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และการใช้จ่ายด้วยความคุ้มค่าได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บริหารโรงเรียนโดยการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ของชุมชนมาสนับสนุน และใช้อย่างประหยัด คุ้มค่า
3.1.4.2 ครู พัฒนาและยกระดับศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักธรรมาภิบาล
พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.33) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดพบว่า มี 3 ข้อ คือ 1) ครูนำทรัพยากรท้องถิ่น ที่จะเสริมสร้างการพัฒนาในด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 2) ครูจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และเน้นการมีส่วนร่วม การเสริมสร้างความสามัคคี และการมีน้ำใจ และ 3) ครูเสริมสร้างให้นักเรียนรู้จักการรักษา ความสะอาดอาคารสถานที่ในบริเวณโรงเรียน และห้องเรียนเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยของนักเรียน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูนำสื่อจากท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในการจัด การเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียน
3.1.4.3 นักเรียนพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D.= 0.39) เมื่อพิจารณากิจกรรมโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา ลำดับแรก คือ กิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยม 12 ประการ รองลงมา พบว่า มี 2 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการรักษาศีลห้า สวดมนต์ ฟังธรรม และทำบุญตักบาตร และ 2) กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยกระบวนการ PLC เกี่ยวกับการบริหารงาน และ การจัดการเรียนการสอนตามหลักธรรมาภิบาล ลำดับที่สาม คือ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ลำดับที่สี่ พบว่า มี 4 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมเสริมสร้างศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและความเป็นไทย 2) กิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3) กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่สาธารณะชุมชนตำบลบ้านแห และ 4) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากร ด้านธรรมาภิบาล โดยการศึกษาดูงาน ลำดับที่ห้า คือ กิจกรรมเรียนรู้ทักษะชีวิต ลำดับที่หก คือ กิจกรรมเสริมสร้างความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ลำดับที่เจ็ด คือ กิจกรรมวันไหว้ครู และลำดับที่แปด คือ กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการตามแนวพระราชดำริ ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายข้อในแต่ละกิจกรรม สรุปเฉพาะรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นำเสนอดังนี้
1) กิจกรรมเสริมสร้างความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
พบว่า ภาพรวม มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D.= 0.45) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามบทบาทที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
2) กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และโครงการตามแนวพระราชดำริ พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.54) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการพระราชดำริ
3) กิจกรรมการรักษาศีลห้า สวดมนต์ ฟังธรรม และทำบุญตักบาตร พบว่า ภาพรวม มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D.= 0.35) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนประพฤติและปฏิบัติตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนรักษาศีล 5 สวดมนต์ เข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ และทำบุญตักบาตร
4) กิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยม 12 ประการ
พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D.= 0.23) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน มี 2 ข้อคือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และนักเรียนปฏิบัติตนตามค่านิยม 12 ประการ
5) กิจกรรมเสริมสร้างศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และ
ความเป็นไทย พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.52) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเป็นไทย ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนถูกต้องตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย และความเป็นไทย
6) กิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.54) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตน และส่วนรวม มีภาวะความเป็นผู้นำ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย และปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตนได้ถูกต้อง
7) กิจกรรมวันไหว้ครู พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.63, S.D.= 0.53) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนเป็นศิษย์ที่ดี มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความกตัญญูรู้คุณต่อครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณ
8) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.72, S.D.= 0.42) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน มี 2 ข้อ คือ นักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตน และส่วนรวม และนักเรียนมีภาวะความเป็นผู้นำ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนร่วม และมีจิตอาสา
9) กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่สาธารณะชุมชนตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.42) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีจิตอาสา บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อชุมชน รัก หวงแหนและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน
10) กิจกรรมเรียนรู้ทักษะชีวิต พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D.= 0.50) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีทักษะในการป้องกันตนจากภัยยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มี 2 ข้อ คือ 1) นักเรียนมีทักษะในการตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤติที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหาต่อตนและผู้อื่น และ 2) นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนความแตกต่างที่หลากหลาย
11) พัฒนาศักยภาพผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากร ด้านธรรมาภิบาล
โดยการศึกษาดูงาน พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.48) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรมีเครือข่าย/หน่วยงานที่เสริมสร้างการเรียนรู้ ด้านการศึกษา ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมภิบาล และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของตน
12) ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยกระบวนการ PLC เกี่ยวกับการบริหารงาน และการจัดการเรียนการสอนตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D.= 0.39) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากร ทราบปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของตน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยกระบวนการ PLC เกี่ยวกับการบริหารงาน และการจัดการเรียน การสอนตามหลักธรรมาภิบาล
3.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนหลังดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 นำเสนอดังนี้
การประเมินด้านพฤติกรรมของนักเรียนหลังดำเนินโครงการ พบว่า ภาพรวมนักเรียน มีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D.= 0.40) กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมเสริมสร้างความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รองลงมา คือ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมประชาธิปไตย ในโรงเรียน กิจกรรมเรียนรู้ทักษะชีวิต กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่สาธารณะชุมชนตำบลไผ่ลิง กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการตามแนวพระราชดำริ กิจกรรมเสริมสร้างศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและ ความเป็นไทย กิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยม 12 ประการ และกิจกรรม การรักษาศีลห้า สวดมนต์ ฟังธรรม และทำบุญตักบาตร ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตน และส่วนรวม มีภาวะความเป็นผู้นำ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนรักษาศีล 5 สวดมนต์ เข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ และทำบุญตักบาตร เมื่อพิจารณารายข้อในแต่ละกิจกรรม สรุปเฉพาะรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นำเสนอดังนี้
3.2.1 กิจกรรมเสริมสร้างความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D.= 0.63) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามบทบาทที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
3.2.2 กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการตามแนวพระราชดำริ พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D.= 0.75) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการพระราชดำริ
3.2.3 กิจกรรมการรักษาศีลห้า สวดมนต์ ฟังธรรมและทำบุญตักบาตร พบว่า
ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D.= 0.58) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนประพฤติ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนรักษาศีล 5 สวดมนต์ เข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ และทำบุญตักบาตร
3.2.4 กิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยม 12 ประการ
พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D.= 0.59) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามค่านิยม 12 ประการ
3.2.5 กิจกรรมเสริมสร้างศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และ
ความเป็นไทย พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D.= 0.55) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเป็นไทย ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนถูกต้องตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย และความเป็นไทย
3.2.6 กิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D.= 0.53) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตน และส่วนรวม มีภาวะความเป็นผู้นำ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย และปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตนได้ถูกต้อง
3.2.7 กิจกรรมวันไหว้ครู พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D.= 0.62) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความกตัญญูรู้คุณต่อครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนเป็นศิษย์ที่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
3.2.8 กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม
อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D.= 0.63) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีภาวะความเป็นผู้นำ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนร่วม และมีจิตอาสา ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตน และส่วนรวม
3.2.9 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่สาธารณะชุมชนตำบลไผ่ลิง พบว่า ภาพรวม ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D.= 0.62) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีจิตอาสา บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมี ความรับผิดชอบต่อชุมชน รัก หวงแหน และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน
3.2.10 กิจกรรมเรียนรู้ทักษะชีวิต พบว่า ภาพรวมส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D.= 0.57) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีทักษะในการป้องกันตนจากภัยยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีทักษะ ในการตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤติที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหาต่อตนและผู้อื่น และลำดับสาม คือ นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนความแตกต่างที่หลากหลาย
3.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 พบว่า ภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = 0.31) รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียน มีความกตัญญู กตเวที มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีจิตอาสา รองลงมา คือ ผู้บริหารโรงเรียน มีการบริหารงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และลำดับที่สาม คือ นักเรียนมีกิริยามารยาท สุภาพ เรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาไพเราะ ยิ้มไหว้ทักทาย ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียน มีการสร้างการรับรู้ การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
.............................................