บทคัดย่อ
จากการสอนตรรกศาสตร์มาหลาย ๆ ปีผู้สอนพบปัญหาการเรียนของนักเรียนในแต่ละปีว่านักเรียนไม่สามารถที่จะเรียนตรรกศาสตร์ได้เป็นส่วนมาก แต่ก็มีบางส่วนที่สามารถเรียนได้ด้วยความเข้า และนักเรียนไม่สามารถจำค่าความจริงของการเชื่อมประพจน์ ของทั้ง 4 ตัวเชื่อม ซึ่งมีทั้งหมด 16 ตัวได้ และเมื่อนักเรียนจำไม่ได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สนุกกับการเรียนและการเรียนกลายเป็นการเรียนที่น่าเบื่อ นักเรียนไม่สนใจ ไม่สามารถทำแบบฝึกทักษะ ไม่สามารถทำแบบทดสอบเมื่อครูประเมินนักเรียนได้ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนลดลง และนักเรียนเกิดอคติ มีทัศนคติที่ไมดีต่อการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย
ผู้สอนจึงศึกษาและดูความสนใจนักเรียนส่วนใหญ่สนใจสิ่งใด ทำให้พบว่านักเรียนให้ความสนใจและสนุกการสิ่่งบันเทิงไม่ว่าเกมส์ หรือ เพลง ผู้สอนจึงคิดวิจัยออกมาในรูปแบบต่อเนื่องกัน คือ เกมส์มาประกอบการเรียนหลังจากนักเรียนได้ใช้เพลงประกอบการจำการหาค่าความจริงแล้วนั้น ผู้สอนได้สร้างเกมส์ขึ้น แล้วให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่ม หาค่าความจริงจากโจทย์ในแผ่นเกมส์ที่นักเรียนได้รับ และพบว่า นักเรียนมีความสนุกและสนใจ นักเรียนได้ร้อง นักเรียนเริ่มสนุกมากขึ้น และนักเรียนเริ่มสนใจ และอยากเรียนมากขึ้น นักเรียนสามารถตอบปัญหา สามารถทำแบบฝึกทักษะได้โดยนักเรียนไม่ต้องไปเปิดตารางค่าความจริง และนักเรียนกล้ามากขึ้นในการนำเสนอ ในการแสดงความคิดเห็น กล้าที่จะออกมาทำแบบฝึกทักษะ หรือกล้าที่จะนำความรู้ที่ตัวเองได้รับจากเพลง ไปสอน หรือถ่ายทอดให้กับเพื่อนต่อไป
จุดประสงค์
1) ให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ยังยื่น
2)ให้นักเรียนสามารถหาค่าความจริงของการเชื่อมประพจน์ได้โดยไม่น่าเบื่อ
3) ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) นักเรียนสามารถมีความรู้ที่ตลอดไปนำไปใช้ประยุกต์ใช้ ในการเรียนเรื่อง ๆ อื่นได้
2) นักเรียนทำกิจกรรม และเรียนได้อย่างสนุกสนาน และส่งงานตรงเวลา ทำแบบฝึกทักษะได้
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
สรุป
จากการประเมินผลการใช้สื่อการสอนโดยเกมส์พบว่า นักเรียนมีความรู้ที่ยังยืนและนักเรียนสามารถบอกค่าความจริงได้โดยที่นักเรียนไม่ต้องเปิดตารางค่าความจริงจากหนังสือ ตลอด และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา ทำแบบฝึกทักษะได้เร็วขึ้น นักเรียนมีความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อแบบเดิม ๆ นักเรียนให้ความสนใจและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตรืมากขึ้น นักเรียนสามารถร่วมกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนได้อย่างสนุก นักเรียนเกิดความสามัคคี มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผลการวัดผลทางการเรียนในเรื่อง ตรรกศาสตร์ของนักเรียน ผุ้สอนได้ประเมินออกมาพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี