ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านต่อตั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ชื่อผู้รายงาน : ธีระพันธ์ เพ็ชรคีรี
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการประเมินบริบทของโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4.1) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนต่อผลการดำเนินงานโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐพอเพียง 4.2) ประเมินความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาต่อผลการดำเนินงานโครงการแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรโรงเรียนบ้านต่อตั้ง จำนวน 8 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านต่อตั้ง จำนวน 43 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบท ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) ของโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านต่อตั้ง ในภาพรวมครูและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.50 , S.D. = 0.63 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ข้อที่ 9 โครงการมีความสอดคล้องกับศักยภาพและทรัพยากรของโรงเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67 , S.D. = 0.54 ) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือ ข้อ 8 โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพของชุมชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.26 , S.D. = 0.66)
2. ด้านปัจจัยปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านต่อตั้ง ในภาพรวมครูและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.50 , S.D. = 0.55 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ข้อที่9 โครงการมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67 , S.D. = 0.48 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือข้อ 8 กิจกรรมที่กำหนดมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์โครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.26 , S.D. = 0.59 )
3. ด้านกระบวนการ ( Process) โครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านต่อตั้ง ในภาพรวมครูและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.38 , S.D. = 0.60 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ข้อที่ 14 โรงเรียนได้กำหนดกิจกรรมของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 , S.D. = 0.49 ) ส่วนข้อที่มีค่าค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือข้อ 11 โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 4.06 , S.D. = 59 )
4. ด้านผลผลิต ( Product Evaluation) โครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านต่อตั้ง
4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านต่อตั้ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54 , S.D. = 0.59 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ข้อที่23 ผลการดำเนินกิจกรรมเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ทำให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88 , S.D. = 0.33 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือข้อ 17 ผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้นักเรียนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายปลาดุก อยู่ในระดับมาก ( = 4.20 , S.D. = 0.49 )
4.2 ความพึงพอใจของครูและ คณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อโครงการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านต่อตั้ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27 , S.D. = 0.57 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ข้อที่13 นักเรียนเก็บรักษาดูแลทรัพย์สินของตนเองเป็นอย่างดี และ ข้อ 16 นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73 , S.D. = 0.46 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือข้อ 1 นักเรียนได้รับมอบหมายงานตามความสามารถ อยู่ในระดับมาก ( = 4.06 , S.D. = 0.73 )