นายวุฒิพงษ์ เดิมทำรัมย์
หลักการและเหตุผล
ปัญหาเด็กและเยาวชนขาดคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมไทย 10 ปีเนื่องจากการวางรากฐานการเรียนรู้คู่คุณธรรม เกิดขึ้นจากการเรียนรู้จากวัยเด็กจนถึงอายุ 25 ปี เด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝังคุณธรรมในช่วงต้นของชีวิตเสียแล้วจะทำให้เป็นผู้ใหญ่และครอบครัวที่ด้อยคุณธรรมในอนาคต จึงเห็นได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหา มิฉะนั้นจะเป็นปัญหาที่สายเกินแก้ไขต่อไป นอกจากนี้เด็กที่อยู่ในสภาพยากจน และด้อยโอกาสอยู่เดิมแล้ว หากต้องประสบปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงซ้ำเติมอีกจะยิ่งทำให้เด็กเหล่านี้อยู่ในสภาพยากลำบากซ้ำซ้อนมากขึ้น โดยเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจมาจากสภาพครอบครัวที่แตกแยก สื่อลามกอนาจารยั่วยุเยาวชนที่ปัจจุบันมีมากมายหาดูได้ง่ายทั้งจากหนังสือ ทีวี และที่น่ากลัวที่สุดคือ INTERNET ได้เข้ามาถึงในบ้าน ทำให้เยาวชนอยากรู้อยากลองมากขึ้น กระแสบริโภคนิยมตามกระแสโลกาภิวัตน์ สร้างปัญหาให้กับเด็ก และเยาวชนที่มีความก้าวร้าว เก็บกด เครียด และไม่มีสำนึกในผิดถูก ชั่วดี เห็นแก่ตัว (กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม .2550 : คำนำ)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่ง
กำหนดสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ และปฏิบัติไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ความสามารคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ เมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาไปแล้วนอกจากจะมีความรู้ความสามารถ ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด แล้ว จะนำไปสู่การมีสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ (กระทรวงศึกษาธิการ . 2551 : 3)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จึงได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไว้ในสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน และ
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม (กรมวิชาการ. 2545 : 9)สาระการเรียนรู้เรื่องคุณธรรมพื้นฐาน จัดอยู่ในสาระที่ 1 และสาระที่ 2 ตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม๐๔ในพระอุปถัมภ์ โดยครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักในสถานศึกษา เป็นผู้ทำหน้าที่โดยตรงในการเสริมสร้างผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีโดยมีเป้าหมายของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเจริญงอกงามใน
ด้านต่าง ๆ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ ด้านเจตคติและค่านิยม จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม แล้วยังมีทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จะสามารถนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบในการดำเนินชีวิต และการมีส่วนร่วมในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในฐานะพลเมืองดี ตลอดจนการนำความรู้ทางจริยธรรม หลักธรรมทางศาสนามาพัฒนาตนเองและสังคม ทำให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข (กรมวิชาการ. 2544 ข : 3-4)
ในกิจกรรมการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการพัฒนาหรือ
การเปลี่ยนแปลงแบบมีแผนเป็นทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ของมนุษย์ มนุษย์ใช้กระบวนการความรู้ทางสังคมอย่างมีสามัญสำนึกและอยู่บนพื้นฐานของการทดลองค้นคว้าเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับมนุษย์และสังคมด้วยกัน การพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ภายใต้การวางแผนนั้นต้องอาศัยยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้ในการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของมนุษย์อาจจัดเป็นประเภทหรือกลุ่ม ( กมล สุดประเสริฐ.2541 : 11 ) การปลูกฝังคุณธรรมในตัวนักเรียนเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพื่อให้ประเทศชาติมีพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ คำว่าคุณภาพ หมายถึงบุคคลนั้นมีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ก่อความเดือดร้อนในสังคมและจะต้องมีคุณธรรมประจำตัวที่จะเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม คือ ประกอบด้วยคุณสมบัติที่จะช่วยให้เขามีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข สงบสุขด้วยตัวเองและไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น รวมถึงมีคุณภาพที่จะทำให้สังคมอยู่ได้ด้วยความเจริญก้าวหน้า ไม่เบียดเบียนกันเพราะบุคคลในสังคมเป็นคนดีมีความรู้และคุณธรรมควบคู่กันไป (ผกา สัตยธรรม .2550 : 279)
จากความสำคัญของการพัฒนาคนให้มีคุณธรรม เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี
ความสุขพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงได้กำหนดเกี่ยวกับแนวการจัดการศึกษาไว้
ในมาตรา 6 ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตรา 24 กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (4) การจัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานความรู้ต่าง ๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้
ในทุกวิชา (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (พระราชบัญญัติ
การศึกษา . 2545 : 10-22) การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงรูปแบการ
เรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียน 4 คุณลักษณะ กับการพัฒนาสมองซีกซ้าย และซีกขวาอย่างสมดุล เพื่อให้ผู้เรียน
เรียนรู้ตามแบบ และความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสมและสามารถพัฒนาตนเองอย่างเต็มตาม
ศักยภาพ ซึ่ง เป็นการจัดการศึกษาแบบก้าวหน้าที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการกระทำ เป็นแนวคิดที่
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (สุวิทย์ และอรทัย มูลคำ .2545 : 154-155)
จากสภาพปัญหาผู้ศึกษาค้นคว้าจึงดำเนินการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมความซื่อสัตย์ของนักเรียน ให้ผู้เรียนมีความเอาใจใส่ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ด้านความซื่อสัตย์ แสวงหาแบบอย่างที่ดีงามชี้นำให้เด็กเข้าใจ สร้างและปฏิบัติตามระเบียบวินัย ที่ผู้เรียนกับครูคิดขึ้น ยอมรับนับถือร่วมกันเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมที่ดีแล้วก็จะเป็นสื่อนำไปสู่การเรียนที่มีประสิทธิภาพผลการเรียนก็จะดีตาม
ไปการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน