การประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ บุคลากรของสถานศึกษา จำนวน 70 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 280 คน ได้แก่ นักเรียนนักศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale Quetionaires) จำนวน 6 ฉบับ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา(Cotert Anlysis)
ผลการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินความคิดเห็นด้านบริบทของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D.=0.55)
2. ผลการประเมินความคิดเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.38, S.D.=0.51)
3. ผลการประเมินความเคิดเห็นด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมาก ( =4.48, S.D.=0.57)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย
4.1 ได้รับ รางวัลสถานศึกษาพอเพียง ปีการศึกษา 2563
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.=0.59)
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของของนักเรียนนักศึกษาของสถานศึกษาที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.=0.60)
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ
5.1 ผลการประเมินความคิดเห็นด้านผลกระทบของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อรับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงของวิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ประจำปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.59)
5.2 ผลการสัมภาษณ์ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการสรุปได้ว่า เป็นโครงการสามารถปลูกฝังความพอเพียง รวมทั้งเจตคติและคุณลักษณะที่พึงประสงค์