นางสาวมัณฑนา พิมแก้ว .(2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยใช้บทเรียนออนไลน์ (Google Classroom)ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยใช้บทเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังไทรวิทยาคม ที่กำลังเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่ผู้สอนสอน จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 53 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1. แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชั่วโมง
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ
3. สื่อประกอบการเรียน เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. บทเรียนออนไลน์ (Google Classroom)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ
1.1 การหาค่าความเที่ยง ( Validity ) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โดยใช้สูตรค่าดัชนี ความสอดคล้อง IOC ( สมนึก ภัททิยธนี. 2541 : 221 ) ดังนี้
เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์
เชิงพฤติกรรมและเนื้อหา หรือระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหา
R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
1.2 การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้สูตร E1 / E2 ของ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ( 2540 : 495 ) ดังนี้
เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ
แทน คะแนนเฉลี่ยของแบบฝึกทักษะหรืองาน
A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกเสริมประสบการณ์หรืองานทุกชิ้นรวมกัน
E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
แทน คะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์หลังเรียน
B แทน คะแนนเต็มของการทดสอบหลังเรียน
1.3 การหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability ) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยใช้สูตรของโลเวท ( Lovett ) ( บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 96 )
เมื่อ rcc แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
k แทน จำนวนข้อสอบ
X1 แทน คะแนนของนักเรียนแต่ละคน
C แทน คะแนนเกณฑ์หรือจุดตัดของแบบทดสอบ
1.4 การหาค่าอำนาจจำแนก ( Discrimination ) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร B ( Discrimination Index B ) ( บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 90 )
เมื่อ B แทน ค่าอำนาจจำแนก
U แทน จำนวนผู้รอบรู้หรือสอบผ่านเกณฑ์ที่ตอบถูก
L แทน จำนวนผู้ไม่รอบรู้หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตอบถูก
n1 แทน จำนวนผู้รอบรู้หรือสอบผ่านเกณฑ์
n2 แทน จำนวนผู้ไม่รอบรู้หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์
2. สถิติพื้นฐาน ได้แก่
2.1 ค่าเฉลี่ย คำนวณจากสูตรของบุญชม ศรีสะอาด ( 2545 : 105 )
แทน ค่าเฉลี่ย
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนคนในกลุ่ม
2.2 การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) มีสูตร ดังนี้
( บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 106 )
เมื่อ S แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนแต่ละตัว
N แทน จำนวนคนในกลุ่ม
แทน ผลรวมของคะแนน
3. การวิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลบทเรียนออนไลน์ (Google Classroom) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูตรที่ใช้หาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ดังนี้ ( มนตรี อนันตรักษ์. 2552 : 102 )
"ดัชนีประสิทธิผล"= "คะแนนรวมจากแบบทดสอบหลังเรียน - คะแนนรวมจากแบบทดสอบก่อนเรียน" /"ผลคูณของคะแนนเต็มกับจำนวนนักเรียน - คะแนนรวมจากแบบทดสอบก่อนเรียน"
ผลการวิจัย พบว่า
การใช้บทเรียนออนไลน์ (Google Classroom) เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.14 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.27 จะเห็นได้ว่าคะแนนของค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 2.46 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 1.16 แสดงว่าข้อมูลมีค่าคะแนนใกล้เคียงกัน