ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวณิชนันทน์ พืชพร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินการใช้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน ประกอบด้วย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ใช้เวลา 22 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าประสิทธิภาพ
(E1/E2) และการทดสอบสมมติฐานใช้ ttest (Dependent Samples) สรุปผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้องและการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสรุปประเด็นที่นักเรียนนำเสนอได้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสในการฝึกฝนการพูดรองลงมาเป็นกิจกรรมการเรียน บทบาทของผู้เรียนมีน้อย เนื้อหาการเรียนเข้าใจยาก และสื่อประกอบการสอนไม่น่าสนใจ ซึ่งจากสภาพปัญหาดังกล่าว สิ่งที่ครูควรทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ การส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำการฝึกพูดและฟังภาษาอังกฤษทั้งในห้องเรียนหรือนอกชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรด้วย เหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ จึงแก้ปัญหาไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ทำการทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า PSPPSD Model มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน 3) กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมสถานการณ์ (Preparing for situation: P) 2) ขั้นที่ 2 ขั้นเลือกผู้แสดง (Selection the performer: S) 3) ขั้นที่ 3 ขั้นเตรียมภาษา (Preparing the language: P) 4) ขั้นที่ 4 ขั้นเตรียมผู้สังเกตการณ์ (Preparing the observer: P) 5 ขั้นที่ 5 ขั้นแสดง (Show: S) 6) ขั้นที่ 6 ขั้นอภิปรายและสรุปผลการแสดง (Discussion and conclusion: D) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนองและ 6) ระบบสนับสนุนค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ E1 / E2-80.43 / 80.55 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 75/75ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ย 25.73 และ 32.21 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21
สรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงตามขึ้นไปด้วยและช่วยนักเรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการวิจัยได้