ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแยะ
ผู้ศึกษา นางฟาตีหม๊ะ ยูโซะ
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านแยะ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 1
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแยะ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแยะ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 21 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียน บ้านแยะ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 3 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในระหว่างวันที่ 7 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 7 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1) ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแยะ ปีการศึกษา 2564 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.51/82.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแยะ ปีการศึกษา 2564 ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.92 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.23 โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.51
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแยะ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 คิดเป็นร้อยละ 95.23 อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หรือชั้นอื่นๆ ควรนำแนวทางที่เป็นผลที่ได้จากการศึกษาถึงผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไปพัฒนาต่อยอดเป็นการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่นักเรียนยังมีผลการเรียนรู้ที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจอยู่
2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำแนวทางที่เป็นผลที่ได้จากการศึกษา การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องอักษรสามหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาสื่อการสอน นวัตกรรมการสอน และวิธีสอน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุปสรรคสำคัญของการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป