ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน
บ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
ผู้วิจัย นางอโนมา สมันต์ศรี
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภูเขต ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นาวัง 2 (จำนวน 6 โรงเรียน) และนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แนวทางการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นาวัง 2 และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง
อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 43 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนนักเรียน เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติค่าที (t-test)
ผลการวิจัย
พบว่า รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เครือข่ายความร่วมมือ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการนิเทศ องค์ประกอบที่ 3 ประสิทธิผลของการนิเทศ และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
title Developing internal inservice management models with a collaborative
network to promote the effectiveness of education management in
the 21 th century of schools. Baan Tham Chang InPhan, Na Wang District
Nong Bua Lamphu Province
Researcher Mrs. Anoma Samantsri
School Ban Tham Chang InPhan School, Na Wang District Nong Bua Lamphu
Province Nong Bua Lamphu Elementary School District 2 Year
Research 2021
Abstract
This research is primarily aimed at developing an internal inservice management model with a collaborative network to promote the effectiveness of educational management in the 21 century of Ban Tham Chang In Convert school. Na Wang District Nong Bua Lamphu Province This research is divided into three phases:
Phase 1: the study of elements and internal orientation guidelines with a collaborative network to promote the effectiveness of the management of education in the 21 century of Ban Tham Chang In Convert school. Na Wang District Nong Bua Lamphu, the information group is the director of Nong Bua Lamphu School District Office. Inservice Studies School Principal, Educational Quality Development Network Center Navang 2 (6 schools) and 13 expert scholars by selecting Purposive Sampling according to certain criteria using focus group techniques.M.Cooperative
Phase 2: Creating an Internal Inservice Management Model with a Collaborative Network to Promote The Effectiveness of Education Management in the 21 th Century of Ban Tham Chang In Convert school The informant group is a qualified person. 9 persons, namely Group 1: Director of Nong Bua Lamphu School District, District 2, School Administrator in The Center for Educational Quality Development Network Navang 2 and group 2: university lecturers studying inservices. The tool used in data collection is the form of the appropriateness of the
Phase 3 form, the assessment of the internal inservice management model with a collaborative network to promote the effectiveness of the management of education in the 21 century of Ban Tham Chang In Phan School. Na Wang District Nong Bua Lamphu Province A group of informants by selecting a specific (Purposive Sampling) based on certain criteria. The target audience used in this research 43 students are school administrators, teachers and education personnel. Basic Education Committee and Student Representatives The tool used to collect data is a form to assess the feasibility and usefulness of the inservice model with a collaborative network to promote the effectiveness of the school. Statistics used to analyze data include percentages, averages, standard deviations, and t-test statistics.)
Findings
It found that the internal inservice management model with a collaborative network to promote the effectiveness of educational management in the 21 century of Ban Tham Chang In Convert school. Na Wang District Nong Bua Lamphu province consists of 3 elements: element 1, cooperation network, element 2, inservice process. Element 3: The effectiveness of inservice and the evaluation of the feasibility and usefulness of the model were found to be very feasible and the most beneficial.