ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL
เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางพรรณวษา บานเย็น
ครูชำนาญการพิเศษ
ระดับชั้น ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้าง ทดสอบประสิทธิภาพ และเผยแพร่รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ 6 ขั้น ดังนี้
ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ขั้นที่ 1
สังเคราะห์รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบ WASA MODEL จากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ประกอบด้วย ขั้นการจัดประสบการณ์ 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (W : Warm up) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างความสนใจ (A : Attention) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะ (S : Skills) และขั้นที่ 4 ขั้นสรุป (A : Abstract) ขั้นที่ 2 ประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ทำแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ผลการประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80 ขั้นที่ 3 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL คือ แผนการจัดประสบการณ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.20 - 4.60 แบบสังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL และแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีสอดคล้องเท่ากับ 0.80 - 1.00 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.59 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35 - 0.53 และค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.90 ขั้นทดลองนำร่องรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL โดยการทดลองนำร่อง ครั้งที่ 1 โดยการทดลองสอนกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนอนุบาลช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ใช้ 2 หน่วยการเรียนรู้ และทดลองนำร่องครั้งที่ 2 กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนอนุบาลช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ใช้ 2 หน่วย การเรียนรู้
ระยะที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ขั้นที่ 5 ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL เป็นเวลา 8 สัปดาห์ 8 หน่วยการเรียนรู้ โดยกำหนดแบบแผนการทดลองแบบ Randomized Control-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test for dependent samples ผลการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา มีผลสัมฤทธิ์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งรายด้าน 4 ด้าน และโดยรวม
ระยะที่ 3 การเผยแพร่รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ขั้นที่ 6 การเผยแพร่รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL โดยครูอนุบาล ที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนในอำเภอเมืองพังงา โรงเรียนละ 1 คน จำนวน 6 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่สมัครใจนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบ WASA MODEL ไปทดลองใช้ จำนวน 2 หน่วยการเรียนรู้ เมื่อสิ้นสุดการสอนครูอนุบาลทุกคน ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ผลการเผยแพร่รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ WASA MODEL ตามความคิดเห็นของครูอนุบาลที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนอนุบาลปีที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80