การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และความตระหนักต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวิชาภาษาไทย
The Development of Area-based Multicultural Learning for Achievement Creative writing and Cultural conservation Awareness Grade 7 Ethnic Groups Students in Thai language
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ (2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (3) ศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และความตระหนักต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ และสามารถสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เน้นการเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นที่ 3 เรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการลงมือปฏิบัติ ณ สถานที่จริง ขั้นที่ 4 สร้างความรู้และทักษะทางภาษา ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ภาษาในบริบทวัฒนธรรมจริง ขั้นที่ 6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสัมพันธไมตรี ขั้นที่ 7 สรุปและสะท้อนคิดสร้างเสริมจิตสำนึกต่อท้องถิ่น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูวิชาภาษาไทยที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 9 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1.แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 2.แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 3.แบบประเมินคุณภาพรูปแบบฯ 4. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5. แบบประเมินการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 6. แบบสอบถามความตระหนักต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของนักเรียน และผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที(t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาพรวมครูผู้สอนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนพื้นที่สูงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีระดับความคิดเห็น ด้านสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (µ = 4.28, =0.661) ด้านปัญหาอยู่ในระดับมาก (µ = 4.26, =0.747) และด้านความต้องการอยู่ในระดับมาก (µ = 4.39, =0.658)
(2) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์เกี่ยวกับการเรียนรู้วิชาภาษาไทย มีระดับความคิดเห็น ด้านสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (µ =4.33 , =0.693) ด้านปัญหาอยู่ในระดับมาก (µ =4.32 , =0.725) และด้านความต้องการอยู่ในระดับมาก (µ =4.49 , =0.524)
(3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานมีค่า IOC ในด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
(4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.85/86.41 ซึ่งสูงกว่ากว่าเกณฑ์ 80/80
(5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ สามารถพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้และในภาพรวม และสามารถพัฒนาความตระหนักต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้สูงขึ้นในทุกแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Keywords: Area-based Learning Multicultural learning, learning achievement, creative writing,
cultural conservation awareness, ethnic groups, Thai language,