การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอภิปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วิชาภาษาไทยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา
Developing Grade12 students Critical Reading and Metacognition in Thai language using the Displacement of Mae Chan Fault Situation-based learning Integrated with Metacognition
บทความวิชาการนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญาเหมาะสมต่อการพัฒนาการคิดอภิปัญญาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิด อภิปัญญา สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถพัฒนาทักษะการคิดอภิปัญญาของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา และสามารถสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีขั้นตอน 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 นำเสนอบริบทที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง (Introduce the real-life context) ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจบริบท (Understand the context) ขั้นที่ 3 ระบุปัญหาและวางแผนการค้นหาคำตอบ (Identify the problem and plan for investigation) ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ใหม่ (Practice to construct new knowledge) ขั้นที่ 5 ถ่ายโอนความรู้สู่บริบทใหม่ (Transfer knowledge to new context) ขั้นที่ 6 สรุปความรู้และสะท้อนคิด (Summarize and reflect learning) ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 86 คน และนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 165 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1. แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการครูและนักเรียน 2. แบบบันทึกการสนทนากลุ่มครูและนักเรียน 3. แบบประเมินคุณภาพรูปแบบฯ (IOC) 4. แบบประเมินการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5.แบบประเมินการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 6.แบบประเมินการคิดอภิปัญญา ผู้วิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในภาพรวมครูผู้สอนโรงเรียนแม่จันวิทยคม มีระดับความคิดเห็น สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (µ = 4.20, = 0.774) ระดับความคิดเห็นด้านปัญหาอยู่ในระดับมาก (µ = 4.24,  = 0.768) ระดับความคิดเห็นด้านความต้องการ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.21,  = 0.776)
(2) เพื่อศึกษาปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่จันวิทยาม ระดับความคิดเห็นด้านสภาพปัจจุบันมีระดับความอยู่ในระดับมาก (µ = 4.38,  = 0.676) ระดับความคิดเห็นด้านปัญหา อยู่ในระดับมาก (µ = 4.30,  = 0.650) ระดับความคิดเห็นด้านความต้องการ อยู่ในระดับมาก (µ= 4.27,  = 0.559)
(3) ผลการประเมินคุณภาพฯ IOC ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะพบว่ามีค่า IOC ด้านความเหมาะสม ด้านความสอดคล้อง ด้านความไปได้และด้านความมีประโยชน์ เท่ากับ 1.00 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
(4) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.12/85.28 ซึ่งสูงกว่ากว่าเกณฑ์ 80/80
(5) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์รอยเลื่อนแม่จันเป็นฐานบูรณาการการคิดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การคิดอภิปัญญา ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การคิดอภิปัญญา ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้
Keywords: Critical Reading, Metacognition, Thai language, Displacement of Mae Chan Fault Situation-based
Learning, Metacognition