มิติใหม่ของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้บริบทเศรษฐกิจชุมชนอำเภอแม่จันเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการ
New Dimension of Thai Language Teaching by Using Local Economy in Mea Chan District Integrated with Entrepreneurship Education
ปารมี วชิรปทุมมุตต์1, และ จิรัฐิติกาล พิมพ์วิชัย2*
Paramee Wachiraphaphummut1 and Jirutthitikan Pimvichai2*
โรงเรียนแม่จันวิทยาคม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย1, และ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
Maechanwittayakhom School, Maechan District, Changrai Province1, Muang Roi-Et, RoiEt Province
Received: Month Date, Year Revised: Month Date, Year Accepted: Month Date, Year
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้บริบทเศรษฐกิจเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางภาษาเพื่อการประกอบการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางภาษาเพื่อการประกอบการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับบริบทเศรษฐกิจชุมชนอำเภอแม่จันเป็นฐานบูรณาการเพื่อการประกอบการ และสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเศรษฐกิจชุมชนอำเภอแม่จันเป็นฐานบูรณาการเพื่อการประกอบการ ซึ่งมีขั้นตอน 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 นำเสนอบริบทที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจบริบท ขั้นที่ 3 ระบุปัญหาและวางแผนการค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ใหม่ ขั้นที่ 5 ถ่ายโอนความรู้สู่บริบทใหม่ ขั้นที่ 6 สรุปความรู้และสะท้อนคิด ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 86 คน และนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน 165 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1. แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการ 2. แบบบันทึกการสนทนากลุ่มครูและนักเรียน 3.แบบประเมินคุณภาพรูปแบบฯ (IOC) 4. แบบประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ 5.แบบประเมินการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูในการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการ วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในภาพรวมครูผู้สอนโรงเรียนแม่จันวิทยคม มีระดับความคิดเห็น สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (µ = 4.38, = 0.676) ระดับความคิดเห็นด้านปัญหาอยู่ในระดับมาก (µ = 4.28,  = 0.807) ระดับความคิดเห็นด้านความต้องการ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.13,  = 0.468)
(2) เพื่อศึกษาปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักเรียนในการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการในรายวิชาภาษาไทยในภาพรวมผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่จันวิทยาม ระดับความคิดเห็นด้านสภาพปัจจุบันมีระดับความอยู่ในระดับมาก (µ = 4.38,  = 0.676) ระดับความคิดเห็นด้านปัญหา อยู่ในระดับมาก (µ = 4.30,  = 0.650) ระดับความคิดเห็นด้านความต้องการ อยู่ในระดับมาก (µ= 4.27,  = 0.559)
(3) ผลการประเมินคุณภาพฯของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะพบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ด้านความเหมาะสม ด้านความสอดคล้อง ด้านความไปได้และด้านความมีประโยชน์ เท่ากับ 1.00 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
(4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.62/89.22 ซึ่งสูงกว่ากว่าเกณฑ์ 80/80
(5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการสามารถพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้
คำสำคัญ : บริบทเป็นฐาน การศึกษาเพื่อการประกอบการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะทางภาษาเพื่อการประกอบการ
วิชาภาษาไทย